โรคที่ถือว่ามาแรงพอๆกันกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ในขณะนี้ก็คงจะเป็นโรคชิคุนกุนยา ซึ่งเกิดในภาคใต้ของประเทศไทยเอง
เพื่อนของเจ้าของบล็อกได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดยะลาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็กลัวๆหวั่นๆเหมือนกันว่าจะเป็นโรคชิคุนกุนยากลับมารึเปล่า เพื่อนเล่าให้ฟังว่ายุงที่นั่นโหดมากๆๆ ขนาดทายากันยุงทั้งแขน ขา แม้กระทั่งคอ ทุดส่วนที่ไม่มีเสื้อผ้าคลุม (กะว่าไม่โดนกัดอย่างแน่นอน) ที่ไหนได้ยุงบินขึ้นมากัดที่หัวซะงั้น ไม่แปลกใจเลยที่ทำไมภาคใต้ถึงเป็นโรคชิคุนกุนยากันเยอะมาก แต่ถือว่าโชคดีนะคะที่ไม่เป็น
ลักษณะโรค โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค
วิธีการติดต่อ ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
ระยะฟักตัว โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน
ระยะติดต่อ ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้
ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ Chikungunya
1. ใน chikungunya มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน DF/DHF คนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า
2. ระยะของไข้สั้นกว่าในเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบใน chikungunya ได้บ่อยกว่าใน
DF/DHF โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน
3. ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน DF/DHF
4. ไม่พบ convalescent petechial rash ที่มีลักษณะวงขาวๆใน chikungunya
5. พบผื่นได้แบบ maculopapular rash และ conjunctival infection ใน chikungunya ได้บ่อย
กว่าในเดงกี
6. พบ myalgia / arthralgia ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี
7. ใน chikungunya เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในเดงกี ถึง 3 เท่า
ระบาดวิทยาของโรค การติดเชื้อ Chikungunya virus เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร
ในทวีปอาฟริกามีหลายประเทศพบเชื้อชิคุนกุนยา มีการแพร่เชื้อ 2 วงจรคือ primate cycle (rural type) (คน-ยุง-ลิง) ซึ่งมี Cercopithicus monkeys หรือ Barboon เป็น amplifyer host และอาจทำให้มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็กๆ (miniepidemics) ได้เป็นครั้งคราว เมื่อมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อนี้อยู่ และคนอาจนำมาสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มียุงลายชุกชุมมาก ทำให้เกิด urban cycle (คน-ยุง) จากคนไปคน โดยยุง Aedes aegypti และ Mansonia aficanus เป็นพาหะ
ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคน โดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียดนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย
การรักษา ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment) การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน
รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โรคภัย การป้องกัน รักษา เกร็ดความรู้เพื่อสุขภาพและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพต่างๆ ที่คุณควรรู้และอยากรู้
ค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพอื่นๆ
ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆให้ได้นะคะ
อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด
Saturday, June 20, 2009
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ ชนิด A 2009 H1N1
จากที่ทราบกันดีว่าในช่วงนี้ยอดผู้ติดเชื่อ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลผู้ติดเชื่อล่าสุดขณะนี้(วันที่ 21 มิถุนายน) เพิ่มขึ้นเป็น 662 ราย
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะคะว่าไข้หวัดใหญ่ธรรมดาและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ ไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ ชนิด A 2009 H1N1 มีอาการที่ใกล้เคียงกันมาก (เพราะมันคือไข้หวัดใหญ่เหมือนกัน) และความรุนแรงก็ไม่ถึงขั้นกับที่ต้องวิตกกันมากนัก แต่หากจะไม่ให้ติดหรือเป็นไข้ไม่ว่าจะไข้หวัดใหญ่แบบไหนก็จะดีที่สุดนะคะ
สัญญานและอาการของคนที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ ชนิด A 2009 H1N1 ที่ระบาดในประเทศเม็กซิโก
อาการของไข้หวัดหมูในคนนั้นมีอาการคล้ายกันกับอาการของคนที่เป็นหวัดปกติ และมีอาการต่อไปนี้คือ มีไข้ ท้องเสีย เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศรีษะ หนาว และ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนล้า ร่วมด้วย ในบางคนมีอาการท้องเสียร่วมกับอาเจียน และในอดีตมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เช่นเดียวกันกับหวัด ที่ไข้หวัดหมูอาจจะแย่ลงจนต้องมีสภาพการเรื้อรัง
ผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดหมูควรได้รับการพิจารณาถึงศักยภาพในการติดเชื้อ ระยะเวลาความยาวนานของการฟักเชื้อจนมีอาการ และความเป็นไปได้ของอาการป่วยที่ยาวนานถึง 7 วัน เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจได้รับเชื้อเป็นเวลานาน
สัญญานเติอนภัยที่จะบ่งบอกถึงการต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนที่ต้องสังเกตมีดังนี้ ในเด็ก หากเด็กมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก ผิวหนังเป็นจ้ำสีน้ำเงิน ดื่มน้ำน้อยไม่เพียงพอ ปลุกไม่ตื่น หรือไม่มีอาการตอบสนอง มีอาการงอแงไม่ยอมให้อุ้ม มีไข้เฉียบพลัน หรือมีอาหารหวัด ไออย่างรุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบเข้ารับการรักษาทันที ในผู้ใหญ่ สัญญานเตือนภัยที่จะต้องรีบรักษาเช่นกันคือ อาการหายใจลำบาก หรือหายใจถี่ เจ็บ แน่นหน้าอกหรือช่องท้อง วิงเวียน หน้ามืด และอาเจียนอย่างรุนแรง หรืออาเจียนเป็นเลือด หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน
โอกาสในการรับเชื้อ
การกระจายและการติดเชื้อของเชื้อไข้หวัดหมูมี 2 ทาง คือ ทางแรก เกิดจาการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ หรือการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อไวรัสไข้หวัดหมู ทางที่สอง การเกิดจากสัมผัสระหว่างคนกับคนที่ติดเชื้อ การกระจายและติดเชื้อระหว่างคนสู่คนนั้นได้มีการมีบันทึกไว้ และ ถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูที่มีไข้หวัดระบาด (Seasonal flu) สาเหตุให้ที่จะทำให้เชื้อแพร่กระจายจากคนสู่คนถือการไอ หรือจาม ของผู้ติดเชื้อ
จะรักษาอย่างไร?
ยาที่จะใช้รักษาอาการไข้หวัดหมูนั้น CDC แนะนำให้ใช้ตัวยา oseltamivir หรือ zanamivir (ทางที่ดีอย่าซื้อกินเอง ควรไปพบแพทย์ค่ะ...ผู้เขียน) สำหรับการบำบัดรักษา การป้องกันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสนี้ ยาต้านไวรัส (Antivirus drug) ตามคำสั่งยาของแพทย์ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ด ยาน้ำ หรือ ยาชนิดสูดดม ที่มีฤทธิ์ต้านหวัดช่วยได้โดยการป้องกันการเจริญและพิ่มจำนวนในร่างกาย (ยังคงมีไวสหลงเหลือในร่างกาย) ถ้าหากมีอาการป่วย ยาต้านไวรัสเหล่านี้สามารถทำให้อาการป่วยลดลงและสามารถทำให้รู้สึกดีขึ้นเร็วขึ้น และอาจใช้ป้องกันอาการหวัดที่รุนแรงได้ สำหรับการรักษานั้นยาต้านไวรัสทำงานได้ดีที่สุดถ้าใช้ตั้งแต่เริ่มมีอาการป่วย โดยเฉพาะในช่วงประมาณ 2 วันแรกที่มีอาการเหมือนเชื้อหวัด..ไม่มีวัคซีนในการรักษา อย่างไรก็ตามหากการกระทำใดๆในชีวิตประจำวันที่ผู้คนสามารถใช้ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจได้ก็สามารถนำมาใช้ป้องกันเชื้อไขหวัดหมูนี้ได้
ข้อแนะนำตามขั้นตอนพึงปฏิบัติเป็นประจำทุกวันเพื่อปกป้องสุขภาพของตัวคุณเอง ดังต่อไปนี้
1. ใช้กระดาษทิชชูปิดจมูกและปากของคุณเมื่อไอ หรือจาม และทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่มีฝาปิดหลังการใช้ทันที
2. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือล้างด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ (เช่นเจลล้างมือ) บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังการไอ หรือ จาม
3. พยายามหลีกเลี่ยงการพบปะ และสัมผัสกับผู้ป่วย ถ้าหากป่วยเป็นหวัดควรหยุดพักอยู่บ้าน เพื่อจำกัดการพบปะผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก หรือ ปาก เพราะเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางอวัยวะเหล่านี้ได้
ประชาชนยังไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลกับการจัดเตรียมและรับประทานเนื้อหมู เช้อไวรัสไข้หวัดหมูนี้ไม่สามารถแพร่กระจายได้ทางอาหาร อนึ่งการรับประทานเนื้อหมูที่ผ่านการเตรียมที่ดีและผ่านการปรุงสุกจะช่วยให้มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคนี้
อย่าลืมนะคะ "ทานของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ" ด้วยความเป็นห่วงค่ะ
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะคะว่าไข้หวัดใหญ่ธรรมดาและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือ ไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ ชนิด A 2009 H1N1 มีอาการที่ใกล้เคียงกันมาก (เพราะมันคือไข้หวัดใหญ่เหมือนกัน) และความรุนแรงก็ไม่ถึงขั้นกับที่ต้องวิตกกันมากนัก แต่หากจะไม่ให้ติดหรือเป็นไข้ไม่ว่าจะไข้หวัดใหญ่แบบไหนก็จะดีที่สุดนะคะ
สัญญานและอาการของคนที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ ชนิด A 2009 H1N1 ที่ระบาดในประเทศเม็กซิโก
อาการของไข้หวัดหมูในคนนั้นมีอาการคล้ายกันกับอาการของคนที่เป็นหวัดปกติ และมีอาการต่อไปนี้คือ มีไข้ ท้องเสีย เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศรีษะ หนาว และ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนล้า ร่วมด้วย ในบางคนมีอาการท้องเสียร่วมกับอาเจียน และในอดีตมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด เช่นเดียวกันกับหวัด ที่ไข้หวัดหมูอาจจะแย่ลงจนต้องมีสภาพการเรื้อรัง
ผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดหมูควรได้รับการพิจารณาถึงศักยภาพในการติดเชื้อ ระยะเวลาความยาวนานของการฟักเชื้อจนมีอาการ และความเป็นไปได้ของอาการป่วยที่ยาวนานถึง 7 วัน เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจได้รับเชื้อเป็นเวลานาน
สัญญานเติอนภัยที่จะบ่งบอกถึงการต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนที่ต้องสังเกตมีดังนี้ ในเด็ก หากเด็กมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก ผิวหนังเป็นจ้ำสีน้ำเงิน ดื่มน้ำน้อยไม่เพียงพอ ปลุกไม่ตื่น หรือไม่มีอาการตอบสนอง มีอาการงอแงไม่ยอมให้อุ้ม มีไข้เฉียบพลัน หรือมีอาหารหวัด ไออย่างรุนแรง หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบเข้ารับการรักษาทันที ในผู้ใหญ่ สัญญานเตือนภัยที่จะต้องรีบรักษาเช่นกันคือ อาการหายใจลำบาก หรือหายใจถี่ เจ็บ แน่นหน้าอกหรือช่องท้อง วิงเวียน หน้ามืด และอาเจียนอย่างรุนแรง หรืออาเจียนเป็นเลือด หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน
โอกาสในการรับเชื้อ
การกระจายและการติดเชื้อของเชื้อไข้หวัดหมูมี 2 ทาง คือ ทางแรก เกิดจาการสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อ หรือการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อไวรัสไข้หวัดหมู ทางที่สอง การเกิดจากสัมผัสระหว่างคนกับคนที่ติดเชื้อ การกระจายและติดเชื้อระหว่างคนสู่คนนั้นได้มีการมีบันทึกไว้ และ ถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูที่มีไข้หวัดระบาด (Seasonal flu) สาเหตุให้ที่จะทำให้เชื้อแพร่กระจายจากคนสู่คนถือการไอ หรือจาม ของผู้ติดเชื้อ
จะรักษาอย่างไร?
ยาที่จะใช้รักษาอาการไข้หวัดหมูนั้น CDC แนะนำให้ใช้ตัวยา oseltamivir หรือ zanamivir (ทางที่ดีอย่าซื้อกินเอง ควรไปพบแพทย์ค่ะ...ผู้เขียน) สำหรับการบำบัดรักษา การป้องกันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสนี้ ยาต้านไวรัส (Antivirus drug) ตามคำสั่งยาของแพทย์ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ด ยาน้ำ หรือ ยาชนิดสูดดม ที่มีฤทธิ์ต้านหวัดช่วยได้โดยการป้องกันการเจริญและพิ่มจำนวนในร่างกาย (ยังคงมีไวสหลงเหลือในร่างกาย) ถ้าหากมีอาการป่วย ยาต้านไวรัสเหล่านี้สามารถทำให้อาการป่วยลดลงและสามารถทำให้รู้สึกดีขึ้นเร็วขึ้น และอาจใช้ป้องกันอาการหวัดที่รุนแรงได้ สำหรับการรักษานั้นยาต้านไวรัสทำงานได้ดีที่สุดถ้าใช้ตั้งแต่เริ่มมีอาการป่วย โดยเฉพาะในช่วงประมาณ 2 วันแรกที่มีอาการเหมือนเชื้อหวัด..ไม่มีวัคซีนในการรักษา อย่างไรก็ตามหากการกระทำใดๆในชีวิตประจำวันที่ผู้คนสามารถใช้ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจได้ก็สามารถนำมาใช้ป้องกันเชื้อไขหวัดหมูนี้ได้
ข้อแนะนำตามขั้นตอนพึงปฏิบัติเป็นประจำทุกวันเพื่อปกป้องสุขภาพของตัวคุณเอง ดังต่อไปนี้
1. ใช้กระดาษทิชชูปิดจมูกและปากของคุณเมื่อไอ หรือจาม และทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่มีฝาปิดหลังการใช้ทันที
2. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือล้างด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ (เช่นเจลล้างมือ) บ่อยๆ โดยเฉพาะหลังการไอ หรือ จาม
3. พยายามหลีกเลี่ยงการพบปะ และสัมผัสกับผู้ป่วย ถ้าหากป่วยเป็นหวัดควรหยุดพักอยู่บ้าน เพื่อจำกัดการพบปะผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก หรือ ปาก เพราะเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางอวัยวะเหล่านี้ได้
ประชาชนยังไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลกับการจัดเตรียมและรับประทานเนื้อหมู เช้อไวรัสไข้หวัดหมูนี้ไม่สามารถแพร่กระจายได้ทางอาหาร อนึ่งการรับประทานเนื้อหมูที่ผ่านการเตรียมที่ดีและผ่านการปรุงสุกจะช่วยให้มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคนี้
อย่าลืมนะคะ "ทานของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ" ด้วยความเป็นห่วงค่ะ
Subscribe to:
Posts (Atom)