ค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพอื่นๆ

Google
 

ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆให้ได้นะคะ

อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

Wednesday, September 10, 2008

เอดส์รู้เร็วรักษาได้ แต่ HIV รักษาไม่หาย

เอดส์รู้เร็วรักษาได้ แต่ HIV รักษาไม่หาย
อังคาร, 19 สิงหาคม 2008

“เอดส์ รู้เร็ว รักษาได้” เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานบริหารโครงการกองทุนโลก (Global Fund to Fight AIDS, TB and Malaria)
กระทรวงสาธารณสุขพุ่งเป้าไปที่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ ผู้ป่วยเอดส์ ที่ยังไม่ได้รับการรักษา ให้เข้าสู่กระบวนการรักษาเร็วขึ้น

คาดการณ์ว่า...ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเกือบ 40 คนต่อวัน มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ระบุว่า คนไทยติดเชื้อเอชไอวีแล้วกว่า 800,000 คน แต่มีเพียง 140,000 คน ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส
ส่วนใหญ่จะมารับการรักษาก็ต่อเมื่อป่วยมาก หรือมาในภาวะที่ภูมิคุ้มกันต่ำมาก ทำให้การรักษามีขั้นตอนซับซ้อน มีโอกาสเสียชีวิตสูง

ข้อควรรู้...ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส และ กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (CL)
ส่งผลให้ระบบบริการสาธารณสุขมีความพร้อมดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ได้มากขึ้น หากใช้สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ...ก็รักษาฟรี

โลกเราเรียนรู้ รู้จักเอดส์มา 20 ปีแล้ว โรคเอดส์เป็นปัญหาที่สะสมมานาน แต่คนจำนวนไม่น้อยไม่รู้ข้อมูลที่เปลี่ยนไป ยังมีความคิด ความเชื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการรักษา

ที่สำคัญ...ยังเชื่อว่า เอดส์ไม่มีทางรักษา รักษาไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ผู้ที่รู้ตัวว่าติดเชื้อได้แต่เก็บตัว ไม่กล้าออกมารับการรักษา ผนวกกับผู้ติดเชื้อจำนวนมากไม่รู้ว่าติดเชื้อจนกระทั่งป่วย ทำให้ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเสียชีวิตเร็วกว่าที่ควร

ปัญหาใหญ่ผู้ติดเชื้อ คือ การไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ทั้งด้วยความไม่รู้ของผู้ติดเชื้อ และความไม่เข้าใจ...“เอดส์ รู้เร็ว รักษาได้” จะช่วยให้ทุกคนรู้ว่า ตนเองมีสิทธิที่จะได้รับการรักษาภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นับตั้งแต่บริการให้คำปรึกษา ตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีกับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง หากพบว่าติดเชื้อจะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น ประเมินสภาวะสุขภาพ เพื่อวางแผนการรักษา หากถึงเกณฑ์ต้องได้รับยา จะได้รับการรักษาตามมาตรฐาน รวมไปถึงได้รับถุงยางอนามัย เพื่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย

ปัจจุบัน เรารู้ว่า...เชื้อเอชไอวีเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นกลไกหลักในระบบสั่งการของการป้องกันเชื้อโรคต่างๆของร่างกาย ทางการแพทย์ การให้ยาต้านไวรัส จะป้องกันไม่ให้เชื้อเอชไอวีทำลายเม็ดเลือดขาว ในทางอ้อมเท่ากับเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายขึ้นมาใหม่ ทำให้กลับมามีร่างกายที่แข็งแรง หายจากการเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ

ผู้ป่วย...ต้องดูแลรักษาตัวเอง ด้วยยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องไปตลอด เหมือนกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ การตรวจระดับภูมิคุ้มกัน (CD4) เป็นการตรวจเลือดนับจำนวนเม็ดเลือดขาว ถ้าซีดี 4 ลดลงเหลือ 200 หรือต่ำกว่า...โอกาสเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสจะปรากฏมากขึ้น
อาทิ ริ้วขาวข้างลิ้น เชื้อราในปาก เชื้อราในหลอดอาหาร เริมที่อวัยวะเพศบ่อยเดือนละครั้ง ตุ่มพีพีอี งูสวัดรุนแรง วัณโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ

จำไว้ว่า...อาการของโรคเหล่านี้ ป้องกันไม่ให้เกิดได้ หรือเมื่อเกิดแล้ว รักษาให้หายได้ กรณีหญิงตั้งครรภ์ จะมีการให้ยาต้านไวรัส...เพื่อลดโอกาสส่งเชื้อต่อให้ลูก ผลสรุปจากการศึกษาพบว่า หากได้รับยาต้านไวรัสสูตรที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด และให้เด็กกินยาต้านต่อหลังคลอด 1-6 สัปดาห์ ร่วมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมผง จะช่วยลดอัตราที่เด็กจะติดเชื้อจากแม่ได้มาก นี่คือความหวังสำหรับผู้ติดเชื้อที่ต้องการมีลูก วันนี้...ถึงจะป้องกันไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ช่วยลดอัตราการติดเชื้อจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 2-8

“เอดส์ รักษาได้” จะทำให้ทุกคนมีความเข้าใจดีขึ้น เมื่อผู้ติดเชื้อ...ผู้ป่วยเอดส์ถูกควบคุมจนมีปริมาณเชื้อเอชไอวีลดลง ก็หมายถึง โอกาสที่จะส่งต่อเชื้อให้ผู้อื่นลดลงไปด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โทร. 0-2372-2222 ได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.
หรือคลิกไปที่ www.aidsaccess.com

เปิดบันทึก “แก้วไดอารี่ เว็บบอร์ด” เว็บไซต์ www.kaewdiary.com ที่ซึ่งมีแต่กำลังใจ และ...กำลังใจ สำหรับคนหัวอกเดียวกัน อายุครบ 7 ขวบไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา mookaew เจ้าของไดอารี่ เขียนไว้เช้าวันที่ 31 กรกฎาคม ว่า...วันนี้ หายไข้แล้ว หลังนอนซมอยู่ 3-4 วัน...น้ำมูกยังไหล ก็กินยาลดน้ำมูก ทำให้ง่วงทั้งวัน เผลอไม่ได้ เผลอเป็นหลับ เบื่อตัวเองมากๆๆ เพราะไม่ได้ทำอะไรเลย

เมื่อวาน นั่งทานข้าวเย็นหน้าทีวีกับคุณอา ก็ต้องสะดุ้งกับสกู๊ปข่าวสั้นๆ บอกว่าสำนักเขตอะไรสักเขตนี่ล่ะ รณรงค์เรื่องโรคเอดส์ แล้วก็บอกว่า “เอดส์รักษาหาย ให้รีบไปหาหมอกันซะตั้งแต่แรก...”
“หุ หุ...จะขำก็ขำไม่ออก ใครหนอช่างเขียนข่าว เอดส์นะเฟ้ย...ไม่ใช่หวัด หรือไข้เลือดออก ถ้ารักษาหายคงหายไปนานแล้ว เราไปหาหมอตั้งแต่แรกๆ ที่รู้ว่าติดเชื้อ...7 ปีผ่านไป ก็ยังเป็นเอดส์อยู่แฮะ”

น่าเศร้า...ที่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเอดส์ยังมีน้อยมาก แม้ เวลาจะผ่านมานานแล้ว สมัยแรกๆตอนโรคเข้ามาในเมืองไทยใหม่ๆ ก็ทำประชาสัมพันธ์ซะน่าเกลียดน่ากลัว จนคนฝังใจรังเกียจโรคเอดส์ และคนเป็นเอดส์มาจนทุกวันนี้ มาวันนี้ก็ทำประชาสัมพันธ์แบบคิกขุว่า...รักษาหาย “เอดส์น่ะ! เป็นแล้วเป็นเลย ไม่มีทางหายนะ ตอนนี้...มีแค่ยาต้านไวรัส กินเพื่อกดเชื้อไว้เท่านั้น”

mookaew ระบายต่อไปว่า ทุกวันนี้...คนก็ยังไม่เข้าใจ มีกระทู้ถามอยู่เรื่อยๆ ยุงกัดจะติดเอดส์มั้ย? กินน้ำหลอดเดียวกันจะติดเอดส์มั้ย? กินสมุนไพรตัวนี้แล้วจะหายมั้ย? จะว่าไปแล้ว...เอดส์เป็นโรคที่ล้มเหลวทางการประชาสัมพันธ์ ในการให้ความรู้ความเข้าใจอย่างมาก

mookaew บอกอีกว่า เจ้าไวรัส HIV นี่เธอมีเสน่ห์นะ เธอมีความสามารถเฉพาะที่ไม่เหมือนกันเลย คนที่ติดเชื้อ HIV เหมือนกัน เป็นโรค AIDS เหมือนกัน...กินยาตัวเดียวกัน บางทียังมีอาการไม่เหมือนกัน เป็นอะไร...หมอก็ยังไม่รู้

เพื่อนสนิทคนนึง กินยาต้านพร้อมๆกัน ยังนอนอยู่โรงพยาบาล เดินไม่ได้มาเดือนกว่าแล้ว โดนเจาะไขสันหลังไป 2 รอบ หมอก็หาสาเหตุไม่ได้ว่า... ทำไมอยู่ดีๆ แขนขาชา โทร.ไปหาก็สงสาร ตอนแรกๆก็มีกำลังใจกันดี คุยกันขำๆ ว่าอะไรกันนักหนาเนอะชีวิต ปลอบใจกันว่าเดี๋ยวคงจะเดินได้... นอนโรงพยาบาล 1 เดือนเต็ม เริ่มไม่ขำ คนโทร.ไปก็หมดมุกให้กำลังใจ... ลางาน 1 เดือนแล้ว จะลาต่อยังไง ที่ทำงานก็เริ่มสงสัย ครอบครัวก็เริ่มลำบากที่ต้องเฝ้าดูแล “เรื่องมันเศร้า...แต่ทำงัยได้ ก็ต้องสู้กันต่อไป”

คุณอันดามัน เพื่อนร่วมไดอารี่ออนไลน์ แสดงความเห็นว่า ตามความรู้สึกของคนทั่วๆไปที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ มักจะเหมารวมว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวี ก็คือ...คนเป็นเอดส์ ความจริง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี กับ ผู้ป่วยเป็นโรคเอดส์ หรือผู้ป่วยเอดส์ ต่างกัน...ผู้ติดเชื้อเป็นผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย หากภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ลดลงจนทำให้เชื้อโรคต่างๆที่มีอยู่ในร่างกายกำเริบ แสดงอาการได้ คนคนนั้น ก็เป็นแค่...ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ร่างกายมีลักษณะปกติเหมือนคนทั่วไปที่ไปรับเชื้อโรคต่างๆไว้ในร่างกายแล้ว... ภูมิคุ้มกันกดไว้ไม่ให้แสดงอาการ

เมื่อใดเชื้อโรคต่างๆในร่างกายกำเริบ แสดงอาการของโรคได้ ที่เรียกว่า... โรคแทรกซ้อน หรือโรคฉวยโอกาส คนคนนั้นจึงจะเรียกว่าเป็น “ผู้ป่วยเอดส์” หรือ...คนที่ติดเชื้อเอชไอวี มีภูมิคุ้มกันลดลงต่ำมาก จนเกิดอาการสัมพันธ์ กับเอดส์ ก็เรียกว่า “ผู้ป่วยเอดส์”

ตามสถานพยาบาล รวมทั้งแพทย์ผู้รักษา จึงมักบอกว่า “โรคเอดส์” หรือ “โรคแทรกซ้อน” รักษาให้หายได้หากไปพบแพทย์ แต่...ต้องย้ำพ่วงท้ายไว้ด้วยว่า “โรคเอดส์รักษาให้หายได้ แต่การเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ยังรักษาไม่หายขาด”

สรุปว่า...ระหว่างผู้ติดเชื้อเอชไอวี กับผู้ป่วยเอดส์ แตกต่างกัน เพราะบางคนเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ยังไม่เคยเป็นโรคเอดส์เลยก็ยังมี ดังนั้น ถ้าเป็นโรคเอดส์ อย่าหดหู่ท้อใจ ให้รีบไปพบแพทย์เสียในวันนี้.

-ไทยรัฐ

Friday, May 23, 2008

ไขมันในโลหิตสูง

ภาวะไขมันในโลหิตสูง นอกจากจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดหลอดโลหิตตีบตัน ที่จะส่งผลให้เกิดโรคอัมพาต และโรคหัวใจแล้วยังเป็นปัญหาด้านงานบริการโลหิตอย่างมาก

ปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย พบว่าพลาสมาในโลหิตของผู้บริจาคมีลักษณะขุ่นขาวมากกว่าปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการมีสารไขมันชนิดไตรกลีเซอร์ไรด์หรือโคเลสเตอรอลสูง ส่งผลให้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ต้องจำหน่ายโลหิตดังกล่าวทิ้งเฉลี่ยเดือนละไม่ต่ำกว่า 800 ยูนิต นับเป็นการสูญเสียที่สูงมาก ดังนั้นก่อนบริจาคโลหิตในแต่ละครั้ง ผู้บริจาคควรงดรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง

F1,F2,F3 คืออะไร

สำหรับผู้บริจาคโลหิต ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ที่มีรหัส F1,F2,F3 ปรากฏในบาร์โค้ตการบริจาคโลหิต แสดงว่า พบพลาสมาขาวขุ่นในโลหิตมากกว่าปกติ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

F1 หมายถึง พบพลาสมาขาวขุ่นเป็นครั้งแรก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะแจ้งให้ผู้บริจาคโลหิตทราบ รวมทั้งให้คำแนะนำ และความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติในการลดระดับไขมันในโลหิต

F2 หมายถึง เมื่อมาบริจาคโลหิตอีกครั้ง ก็ยังพบว่ามีพลาสมาขาวขุ่นเหมือนเดิม ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้บริจาคมาตรวจหาระดับไขมันในโลหิต โดยให้งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ยกเว้นน้ำเปล่าประมาณ 12 ชั่วโมง ก่อนเจาะโลหิต

F3 หมายถึง ยังพบพลาสมาขาวขุ่น ให้งดบริจาคโลหิต

ไขมันในโลหิตมี 3 ประเภท คือ
1. โคเลสเตอรอล ได้มาจากการสังเคราะห์ที่ตับและจากอาหาร ไขมันสัตว์ที่รับประทานมีหน้าที่เป็นองค์ประกอบในการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตเป็นส่วนประกอบของถุงน้ำดี แต่ถ้ามีระดับสูงมากเกินพอจะเกิดเป็นแผ่นคราบเกาะแน่นที่ผนังชั้นในของหลอดโลหิต
2. เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นโคเลสเตอรอล ดี มีหน้าที่นำเอาโคเลสเตอรอลไปทำลายที่ตับ ทำให้มีโอกาสเกิดหลอดโลหิตตีบลดลง
3. ไตรกลีเซอร์ไรด์ ได้มาจากการสังเคราะห์ที่ตับ และจากอาหารประเภทไขมันสัตว์ แป้งและน้ำตาล ถ้ามีระดับสูงมากจะทำให้หลอดโลหิตอุดตัน

สาเหตุของไขมันในโลหิตสูง
1. กรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติในการเผาผลาญสารไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย ความผิดปกตินี้ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้
2. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากๆเป็นประจำ เช่น หมูสามชั้น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ฯลฯ
3. รับประทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล กะทิจำนวนมากๆ
4. โรคเบาหวาน โรคต่อมธัยรอยด์ไม่ทำงาน โรคตับ โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้การเผาผลาญสารไขมันผิดปกติ
5. ยา ในยาบางชนิดทำให้ไขมันในโลหิตสูงได้ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ยาคุมกำเนิด ยากลุ่มเสตียรอยด์ เป็นต้น

ระดับไขมัน
ชนิดของไขมัน ระดับที่เหมาะสม (mg/dl) ระดับที่เหมาะสมในผู้บริจาคโลหิต (mg/dl)
โคเลสเตอรอล 150-220 < 200
ไตรกลีเซอร์ไรด์ 40-150 < 200
เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล > 50 > 50

วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันระดับไขมันในโลหิตสูง
1. ลดน้ำหนักตัวถ้าอ้วน หรือมีน้ำหนักเกินโดยลดปริมาณอาหาร และออกกำลังกาย อาหารที่มีไขมันสูงที่ท่านควรเลี่ยง เช่น ไข่แดง, ไข่นกกระทา, เครื่องในสัตว์, เนื้อสัตว์ส่วนที่ติดมันทุกชนิด, สมองสัตว์, อาหารทะเล เช่น หอยนางรม, ปลาหมึก ฯลฯ
2. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน, อาหารทอดเจียว ควรใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น เนย น้ำมันหมู น้ำมันพืชที่สกัดจากเมล็ดพืชจะมีกรดไลโนเลอิกที่เป็นตัวนำโคเลสเตอรอลไปเผาผลาญสูงกว่าน้ำมันที่สกัดจากเนื้อพืช
3. เครื่องดื่มจำพวกเบียร์ ขนมหวาน แป้งข้าวต่าง ๆ จะสะสมเกิดเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้
4. ควรเพิ่มอาหารพวกผักใบต่าง ๆ และผลไม้บางชนิดที่ให้ใย และกาก เช่น คะน้า ผักกาด ฝรั่ง ส้ม เม็ดแมงลัก ฯลฯ เพื่อให้ร่างกายได้รับกากใยอาหารมากขึ้น กากใยเหล่านี้จะช่วยให้การดูดซึมของไขมันสู่ร่างกายน้อยลง
5. พยายามเปลี่ยนแปลงวิธีปรุงอาหารเป็นการนึ่ง ต้ม ย่าง อบ แทนการทอด หรือผัด
6. นมเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงหากจะดื่มควรใช้นมพร่องมันเนยแทนนมสด
7. ออกกำลังกายเพื่อให้มีผลต่อการเผาผลาญพลังงาน และลดปริมาณไขมันในโลหิตนั้นต้องเป็นการออกกำลังที่สม่ำเสมอ มีการต่อเนื่องครั้งละ 20-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง สำหรับการออกกำลังที่ดีที่สุด เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของปอด และหัวใจ คือ การเดินเร็ว จ๊อกกิ้ง เต้นรำ การขี่จักรยาน ซึ่งหากคุณมีอาการของโรคหัวใจอยู่แล้ว หรือมีอายุมากกว่า 40 ปี ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนว่าควรออกกำลังกายชนิดใด และมากน้อยเพียงไร จึงจะเหมาะสมสำหรับท่าน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับประโยชน์อย่างเดียว โดยไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ

ตัวอย่างอาหาร ปริมาณของโคเลสเตอรอลในอาหาร 100 กรัม (1 ขีด) (ในแต่ละวันควรได้รับโคเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มิลลิกรัม)

ชนิดอาหาร ปริมาณ โคเลสเตอรอล (mg) ชนิดอาหาร ปริมาณโคเลสเตอรอล (mg)
ไขมัน เนื้อสัตว์
ไอศครีม 40 เนื้อแพะ,แกะ 60-70
ครีม 60 เนื้อไก่,เป็ด 60-90
ไขวัว 90-170 เนื้อหมูไม่ติดมัน 91
น้ำมันหมู 110 เนื้อปู 145
เนยแข็ง 140 เนื้อกุ้ง 150
เนยเหลว 250 ปลาหมึกสด 348
เครื่องในสัตว์ ปลาหมึกแห้ง 1,170
ตับหมู 364 หอยแครง,แมลงภู่ 454
หัวใจหมู วัว 135 หอยนางรม >200
ไข่ปลา >300 แฮม, ขาไก่ 100-110
ไข่นกกระทา 3,640 ปลาตะเพียน 90
ไข่แดงล้วน 1,480 ปลาลิ้นหมา 87
ไข่ไก่ 1 ฟอง 504 ปลาดาบเงิน 244
ไข่ขาว 0



ขอขอบคุณข้อมูลจากศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย

โรคไวรัสตับอักเสบ

โรคไวรัสตับอักเสบ

ในปัจจุบันนี้ มีคนจำนวนมากคิดว่าโรคที่ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ และเลือดที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายนั้นมีเฉพาะโรคเอดส์ แต่อีกหลายคนคงจะไม่ทราบว่าโรคไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบ ซี สามารถติดเชื้อได้จากทางนี้เช่นกัน ถึงแม้จะมีความรุนแรง และอันตรายไม่เท่ากับโรคเอดส์ แต่ถ้าไม่ทำการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้อง ก็อาจถึงกับเสียชีวิตได้



โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “โรคตัวเหลืองตาเหลือง หรือโรคดีซ่าน” เชื้อไวรัสตับอักเสบมีมานานแล้ว แต่มาค้นพบเมื่อการแพทย์เจริญมากขึ้น เชื้อไวรัสตับอักเสบที่ค้นพบขณะนี้คือ เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ, เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, เชื้อไวรัสตับอักเสบ ดี และเชื้อไวรัสตับอักเสบที่ไม่ใช่เอและบี ภายหลังได้ชื่อว่า “ไวรัสตับอักเสบ ซี และไวรัสตับอักเสบ อี”



อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ

เชื้อไวรัสตับอักเสบที่เรียกชื่อแตกต่างกันนั้น โดยทั่วไปพบว่ามีอาการคล้ายคลึงกัน คือจะมีอาการอ่อนเพลียนำมา มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด เจ็บบริเวณชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง โดยทั่วไปแล้ว อาการของโรคตับอักเสบอาจปรากฏอยู่ 2-3 สัปดาห์ จากนั้นค่อยๆ ลดลงจนหายเป็นปกติ ภายใน 4-6 สัปดาห์

โรคตับอักเสบบางชนิดอาจหายขาดได้ บางชนิดอาจเป็นเรื้อรังไปอีกหลายปี หรืออาจเกิดผลแทรกซ้อนตามมาในระยะยาว



โรคไวรัสตับอักเสบ บี

ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จะมีระยะฟักตัวของโรค ภายในเวลา 30-150 วัน โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการไข้ต่ำๆ ปวดข้อ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีลมพิษเกิดขึ้นก่อนที่อาการตาเหลือง ตัวเหลืองจะปรากฏชัดเจน ผู้ที่ตรวจพบไวรัสตับอักเสบ บี มักจะไม่ค่อยกลัวและวิตกกังวลเท่าไร เพราะว่าถ้าได้รับการพักผ่อนเพียงพอ และได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างถูกต้อง ดูแลสุขภาพตัวเอง ไม่ดื่มสุราจัด หรือใช้ชีวิตสมบุกสมบัน อะไรที่เป็นพิษเป็นภัยกับตับควรละเว้น สภาพตับจะดีขึ้น จะมีอันตรายก็ต่อเมื่อ ผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าไปแล้วไม่ไปรับการรักษาพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ หายแล้วก็ไม่ค่อยระวัง โรคอาจจะกลับมาอีก คราวนี้จะมีความรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้



โรคไวรัสตับอักเสบ ซี

โรคไวรัสตับอักเสบ ซี เกิดมานานแล้ว แต่ยังค้นไม่พบ สมัยก่อนเมื่อเห็นตัวเหลืองตาเหลืองก็จะตรวจเลือด แต่ผลจากการตรวจเลือดพบว่าไม่ใช่ไวรัส เอ หรือไวรัส บี ช่วงแรกจึงเรียกว่าไวรัสตับอักเสบไม่ใช่เอไม่ใช่บี ต่อมาประมาณปลายปี 2532 ได้มีน้ำยาตรวจสอบจึงพบไวรัสตัวหนึ่ง ในส่วนของไวรัสตับอักเสบ ไม่ใช่เอและไม่ใช่บี คือไวรัสตับอักเสบ ซี นั่นเอง

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ก็เหมือนกับโรคไวรัสตับอักเสบ บี คือเมื่อได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เข้าไปจะใช้ระยะเวลาฟักตัว 6 สัปดาห์ ถึง 6 เดือน อาการที่พบจะรุนแรงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ติดเชื้อ ความรุนแรงของเชื้อที่พบใกล้เคียงกัน ผลจากการแทรกซ้อนสามารถทำให้เกิดโรคตับเรื้อรังได้เช่นเดียวกัน



การติดต่อของโรคไวรัสตับอักเสบ บี และโรคไวรัสตับอักเสบ ซี



โรคไวรัสตับอักเสบ บี และโรคไวรัสตับอักเสบ ซี จะแพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่นได้โดย



-การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบ ซี นั้น จากการศึกษา ขณะนี้พบว่าการติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นน้อยมาก



-ทางเลือด โดยการสัมผัสเลือดของผู้ป่วย เช่น ถูกเข็มที่ใช้เจาะเลือดหรือฉีดยาผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ตำหรือแทงโดยอุบัติเหตุที่มือ หรือผิวหนังมีแผลถลอกแล้วไปสัมผัสกับเลือดของผู้ป่วย



-แม่สู่ลูก คือแม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ในขณะตั้งครรภ์เมื่อคลอดลูก ลูกจะได้สัมผัสกับเลือดของแม่ในช่องคลอด จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ แต่ไวรัสตับอักเสบ ซี ยังไม่มีรายงานว่าติดต่อได้ทางนี้



ความรุนแรงของโรค

โรคไวรัสตับอักเสบ บี โรคนี้ถ้าอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน จะมีอาการของโรคตับอักเสบเรื้อรังได้ ในบางรายอาจเป็นตับแข็ง บางรายอาจมีอาการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด บางรายอาจเปลี่ยนเป็นมะเร็งของตับ สำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี มีข้อได้เปรียบกว่าโรคไวรัสตับอักเสบ ซี คือมีวัคซีนป้องกัน ฉะนั้นสามี ภรรยา หรือบุตรของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี สามารถฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อได้ และยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อกับบุคคลภายนอกในครอบครัวหรือคนอื่นอีกด้วย

โรคไวรัสตับอักเสบ ซี ยังไม่มีวัคซีนป้องกันความรุนแรงของโรคใกล้เคียงกัน ผลจากการแทรกซ้อนสามารถทำให้เกิดโรคตับเรื้อรังได้เช่นเดียวกัน



การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี โรคไวรัสตับอักเสบ ซี

*ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

*ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น



โรคไวรัสตับอักเสบ บี และโรคไวรัสตับอักเสบ ซี รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่สามารถติดเชื้อได้ทางเพศสัมพันธ์และทางเลือดบางชนิด เช่นโรคซิฟิลิส ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสาขาบริการโลหิตทั่วประเทศ งดรับบริจาคโลหิตจากผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเหล่านี้

ขอขอบคุณข้อมูลจากศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย

โรคไวรัสตับอักเสบบี

โรคตับอักเสบบี คืออะไร

ตับอักเสบบี คือ การอักเสบของเซลล์ตับอันเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) การอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได

ไวรัสตับอักเสบ มีความสำคัญกับเราหรือไม่

ในประเทศไทยคาดว่าประชากรประมาณร้อยละ 5 มีการติดเชื้อไวรัสตับอับเสบ บี นั่นหมายถึง ประชากรประมาณ 3 ล้านคน มีไวรัสนี้พร้อมที่จะแพร่ให้ผู้อื่นและก่อให้เกิดความเจ็บป่วยกับผู้ติดเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบ ติดต่อกันอย่างไร

การติดเชื้อที่พบบ่อย คือ การถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารก แต่ในปัจจุบันจะลดลงมากเพราะการฉีดวัคซีนให้ทารกที่คลอดมาจะช่วยป้องกันได้เกือบร้อยละ 100 ดังนั้นการติดต่อที่สำคัญในปัจจุบันคือ ทางเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งไวรัสตับอักเสบ บี จะสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสเอดส์ การสัก เจาะหู หรือการฝังเข็ม โดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง การได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือดที่ไม่จำเป็นก็อาจเป็นสาเหตุได้แต่พบได้น้อยมากในการตรวจกรองของธนาคารเลือดในปัจจุบัน

หากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะมีอาการอย่างไร

หากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จะเข้าไปฟักตัวในร่างกายเราประมาณ 2-3 เดือน แล้วจึงเริ่มมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับไต ปัสสาวะเข้ม ตาเหลือง อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นในเวลา 2-3 สัปดาห์ และร่างกายจะค่อยๆ กำจัดไวรัสตับอักเสบ บี ออกไปพร้อมๆ กับการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีซ้ำอีก ผู้ป่วยร้อยละ 5-10 อาจโชคไม่ดี ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ เกิดการติดเชื้อเรื้อรังโดยเฉพาะหากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ตั้งแต่เด็กๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการหากตรวจเลือดพบว่ามีไวรัสตับอักเสบ บี ผู้ป่วยบางรายจะมีการอักเสบของตับร่วมอยู่ด้วย ซึ่งหากมีการอักเสบตลอดเวลาจะทำให้มีการตายของเซลล์ตับ เกิดมีพังผืดเพิ่มมากขึ้นจนเป็นตับแข็งในที่สุด ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งอาจกลายเป็นมะเร็งตับซ้ำเติม

แพทย์สามารถวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบ บี ได้อย่างไร

การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบ บี ในปัจจุบันทำได้ง่ายมาก เพียงตรวจเลือดในปริมาณเล็กน้อยเพื่อหาเปลือกของไวรัส (HBsAg) ก็จะทราบได้ว่าท่านมีไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งแพทย์อาจตรวจหาหลักฐานว่ามีตับอักเสบหรือไม่โดยการตรวจระดับ เอนไซม์ของตับ (AST / ALT) โดยในผู้ป่วยที่เป็นตับอักเสบเรื้อรัง แพทย์อาจนัดตรวจ 1-2 ครั้งในเวลาห่างกันทุกๆ 1-2 เดือน ก็จะทราบได้ว่าท่านมีตับอักเสบเรื้อรังหรือไม่ นอกจากนั้นแพทย์อาจตรวจหาปริมาณไวรัสโดยทางอ้อมด้วยการตรวจ HBeAg หรือการตรวจนับไวรัสในเลือดโดยตรง เพื่อประเมินปริมาณของไวรัส ก่อนการรักษา แพทย์อาจจะตรวจชิ้นเนื้อตับ โดยใช้เข็มที่มีขนาดเล็กเจาะผ่านผิวหนังหลังจากฉีดยาชา ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อนี้จะให้ข้อมูลที่สำคัญอย่างมากเกี่ยวกับการอักเสบของตับ

หากตรวจพบว่าท่านเป็นตับอักเสบ บี เรื้อรัง จะทำอย่างไร

ในปัจจุบันมีการรักษาที่ได้ผลในการลดการอักเสบของตับอยู่หลายวิธี ทั้งโดยยาฉีดอินเตอร์เฟียรอน หรือยารับประทาน ลามิวูดีน ซึ่งยาทั้งสองอย่างสามารถลดปริมาณของไวรัส ลดการอักเสบของตับ ทำให้ระดับเอนไซม์ของตับกลับสู่ภาวะปรกติ นอกจากนั้นยังอาจลดเนื้อเยื่อพังผืดในตับ ป้องกันการเกิดตับแข็งหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ การตัดสินใจเลือกชนิดยาสำหรับการรักษา แพทย์ผู้ดูแลจะอธิบายกับท่านถึงผลดีผลเสียของการใช้ยาทั้งสองอย่าง และช่วยพิจารณาว่าท่านเหมาะสมกับยาชนิดใดมากกว่ากัน นอกจากนั้นท่านควรปฏิบัติตัวโดยการรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควรงดดื่มสุราและหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น พร้อมกับไปพบแพทย์เป็นระยะๆ เพื่อตรวจการทำงานของตับและแพทย์อาจตรวจกรองหามะเร็งตับร่วมด้วย ท่านสามารถแต่งงานมีบุตรได้โดยควรตรวจคู่สมรสของท่านก่อนแต่งงาน หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันควรได้รับการฉีดวัคซีน ในกรณีมีบุตร ทารกทุกรายจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อจากมารดาอยู่แล้ว และมารดาสามารถให้นมบุตรได้ตามปรกติ

หากท่านสงสัยว่าจะเป็นไวรัสตับอักเสบ บี ควรทำอย่างไร

ท่านควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือด ซึ่งสามารถให้คำตอบแก่ท่านได้ในเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์และเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก โปรดอย่าลืมว่าไวรัสตับอักเสบ บี สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนและแม้ท่านได้รับเชื้อไปแล้วมีภาวะตับอักเสบก็ยังรักษาได้โดยการใช้ยา ถึงแม้ว่าไวรัสตับอักเสบ บี อาจไม่ได้หมดจากร่างกายแต่ก็สามารถหยุดยั้งไม่ให้เกิดการอักเสบ ป้องกันการเกิดโรคแทรก

เราสามารถป้องกันตนเองได้อย่างไร
1.โดยดูแลตนเองให้พ้นจากความเสี่ยงดังกล่าว
2.ฉีดวัคซีนป้องกันโรคในผู้ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน

ใครบ้างที่ควรรับการฉีดวัคซีน
1.เด็กทารกที่เกิดใหม่ทุกคน
2.ผู้ที่ได้รับการตรวจเลือด แล้วพบว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน
3.ผู้ที่มีบาดแผลสัมผัสกับเลือดของคนที่เป็นพาหะ
4.ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับเลือดหรือสารจากเลือดบ่อยๆ
5.ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเลือด
6.ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวเป็นพาหะ หรือผู้ป่วยเป็นโรคตับอักเสบจากไวรัส บี
7.ผู้ที่จะแต่งงานกับคนที่เป็นพาหะ

วัคซีนนี้ฉีดอย่างไร
เด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก
- ฉีดวัคซีนขนาดของเด็ก เข็ม ห่างกัน 0 ,1 และ 6 เดือน
ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่
- ฉีดวัคซีนขนาดของผู้ใหญ่ เข็ม ห่างกัน 0,1 และ 6 เดือน

เหตุผลที่ควรรับการฉีดวัคซีน
ในเด็กทารกที่ติดเชื้อจากมารดา จะมีโอกาสเป็นพาหะของโรค และเมื่อโตขึ้นอาจจะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งตับได้ง่าย
ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่เมื่อเป็นแล้วจะต้องนอนพักผ่อน 1-2 เดือน ทำให้นักเรียนและนักศึกษาจะกระทบต่อผลการเรียนและพลาดโอกาสในการเรียนต่อ ถ้าเป็นคนทำงาน ก็จะหยุดงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานและประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังเพื่อนร่วมงานใกล้เคียงได้

เพราะเหตุใดโรคไวรัสตับอักเสบ บี จึงแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่น และผู้ใหญ่
1.จากการสัมผัสถูกเลือด โดยมีบาดแผลเกิดขึ้น เช่น จากการเล่นกีฬา เป็นต้น
2.จากการใช้ของร่วมกัน ได้แก่ แปรงสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ มีดโกนหนวด เป็นต้น
3.จากการดื่มกินโดยใช้ภาชนะเดียวกันร่วมกัน
4.จากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นโอกาสที่เกิดสูงที่สุด

คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบบี
เมื่อมีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องจะลดและป้องกันการแพร่กระจายโรคสู่บุคคลใกล้ชิด ซึ่งสามารถปฏิบัติตนได้ดังนี้
1.รักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายได้ตามปกติ
2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
3.งดสุราและสิ่งที่มีพิษต่อตับ
4.ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
5.งดบริจาคเลือด น้ำเหลือง รวมทั้งน้ำเชื้อ
6.งดใช้ของร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะของที่อาจปนเปื้อนเลือดได้ เช่น ใบมีด
โกน แปรงสีฟัน
7.ใช้ถุงยางอนามัย เมื่อจะมีเพศสัมพันธ์
8.แนะนำให้สามีหรือภรรยา และบุตรที่ยังไม่มีภูมิต้านทานโรค ให้ได้รับการ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

Monday, March 31, 2008

ทาลัสซีเมีย Thalassemia


Normal Red Blood Cells Alpha Thalassemia Beta Thalassemia

ลักษณะทั่วไป
เป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายสร้าง
เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร ทำให้มี
อาการซีดเหลืองเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการแสดงของโรคนี้ จะต้องรับกรรมพันธุ์ที่
ผิดปกติมาจากทั้งฝ่ายพ่อและแม่ (ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง) ถ้ารับจากฝ่าย
ใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่มีอาการแสดง แต่จะมีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ
อยู่ในตัวและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไป

ในบ้านเราพบว่ามีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติของโรคนี้ โดยไม่แสดงอาการเป็น
จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนอีสาน อาจมีถึง 40% ของประชากร
ทั่วไปที่มีกรรมพันธุ์ของโรคนี้ ส่วนผู้ที่มีอาการของโรคนี้อย่างชัด ๆ มี
ประมาณ 1 ใน 100 คน โรคนี้อาจแบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งมีความรุนแรง
มากน้อยแตกต่างกันไป


สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลืองและตับม้ามโตมาตั้งแต่เด็ก ร่างกายเติบโตช้า
ตัวเตี้ย และน้ำหนักน้อยไม่สมอายุ ในรายที่เป็นทาลัสซีเมียชนิดอ่อนที่เรียก
ว่า โรคฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H disease) ตามปกติจะไม่มีอาการ
ผิดปกติแต่อย่างไร แต่จะมีอาการซีดเหลืองเป็นครั้งคราวขณะที่เป็นหวัด
เจ็บคอ หรือเป็นโรคติดเชื้ออื่น ๆ แบบเดียวกับโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือด
แดงแตก

สิ่งตรวจพบ
ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลือง หน้าแปลก โดยมีสันจมูกแบะ (จมูกแบน) หน้า
ผากโหนกชัน กระดูกแก้มและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันยื่นเขยิน ลูกตาอยู่
ห่างกันมากกว่าคนปกติ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า หน้ามงโกลอยด์หรือ หน้า
ทาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักจะมีม้ามโตมาก บางรายอาจโตถึงสะดือ (คลำได้ก้อน
แข็งที่ใต้ชายโครงซ้าย) อาการม้ามโต ชาวบ้านอาจเรียกว่า ป้าง หรือ
อุปถัมภ์ม้ามย้อย (จุกกระผามม้ามย้อย)

อาการแทรกซ้อน
ถ้าซีดมาก อาจทำให้มีอาการหอบเหนื่อย บวม และตับโต เนื่องจากหัวใจวาย
บางคนอาจเป็นไข้ เจ็บคอบ่อยจนกลายเป็นโรคหัวใจรูมาติก หรือหน่วยไต
อักเสบ ผู้ป่วยอาจมีนิ่วในถุงน้ำดี ได้บ่อยกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีสารบิลิรูบิน
จากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ในรายที่มีชีวิตอยู่ได้นาน
จะมีเหล็ก (ที่ได้จากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง) สะสมในอวัยวะต่าง ๆ
เช่น ที่ผิวหนังทำให้ผิวออกเป็นสีเทาอมเขียว ที่ตับทำให้ตับเข็ง ที่หัวใจทำให้
หัวใจโตและเหนื่อยง่าย เป็นต้น

ข้อแนะนำ

1. ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารพวกโปรตีน และอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง (เช่น ผัก
ใบเขียว เนื้อสัตว์) มาก ๆ เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง
2. อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า โรคนี้เป็นโรคกรรมพันธุ์ติดตัวไปตลอด
ชีวิต ไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องอาจ
มีชีวิตยืนยาวได้ ควรรักษาที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านเป็นประจำไม่ควร
กระเสือกกระสนย้ายหมอ ย้ายโรงพยาบาล ทำให้หมดเปลืองเงินทองโดย
ใช่เหตุ
3. แนะนำให้พ่อแม่ที่มีลูกเป็นทาลัสซีเมียคุมกำเนิด หรือผู้ที่มีประวัติว่ามี
ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ ไม่ควรแต่งงานกัน หรือจำเป็นต้องแต่งงานก็ไม่ควรมี
บุตร เพราะลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 4 (ร้อยละ 25) ทำให้เกิด
ภาวะยุ่งยากในภายหลังได้ ถ้าหากมีการตั้งครรภ์ ในปัจจุบันมีวิธีการเจาะ
เอาน้ำคร่ำมาตรวจดูว่าทารกเป็นโรคนี้หรือไม่ ดังที่เรียกว่า "การวินิจฉัย
ก่อนคลอด" (Prenatal diagnosis) ถ้าพบว่าผิดปกติ อาจพิจารณาทำแท้ง
4. ในปัจจุบันสามารถใช้วิธีการพิเศษ เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อกรรมพันธุ์ของโรค
นี้หรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ก่อนแต่งงานควรตรวจดูให้แน่นอน


โรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดพลาดของโครโมโซม
ทำให้ปริมาณ การสร้างโกลบินลด น้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย แต่ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับ
ลักษณะของความ ผิดปกติ ของยีนบน โครโมโซม

โดยปกติส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงภายในร่างกายคน คือ ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนสีแดง
องค์ประกอบ ของฮีโมโกลบินประกอบด้วยกรดอะมิโนเรียงตัวกัน 4 เส้น และ 4 เส้นนี้ประกอบด้วย
กรดอะมิโนเส้นแอลฟา 2 เส้น และบีตา 2 เส้น เมื่อเกิดความผิดปกติในการสร้างเส้นกรดอะมิโนดังกล่าว
ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย และมีอายุ น้อยกว่าปกติ (ปกติเม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 120 วัน
สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคธารัสซีเมีย เม็ดเลือดจะมีอายุ ประมาณ50-60 วัน)
ปริมาณเม็ดเลือดแดงที่เหลือไม่สามารถนำเอา ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ อย่างเพียงพอ
ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

ดังนั้นลักษณะของผู้ที่ป่วยที่มีอาการจะมีตัวซีดเหลือง
ถ้าเป็นชนิดรุนแรงจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ รวมไปถึงชนิดที่รุนแรงมากที่สุดอาจจะเสียชีวิตได้
และภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากเม็ดเลือดแดงแตก จะทำให้ ผู้ป่วยมีปริมาณธาตุเหล็กมากกว่าปกติ
ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ จนเป็นอันตรายภายหลัง นอกจากนี้ ผู้ป่วยทาลัสซีเมียชนิดมี
อาการมักจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ (แต่สมองจะพัฒนาไปตามปกติ ไม่มี ปัญหาทางสมอง
หรือปัญญาอ่อน)

จากความปกติของโกลบินทำให้สามารถแบ่งแยกประเภทของโรคทาลัสซีเมียได้ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ


แอลฟาทาลัสซีเมีย เป็นโรคธารัสซีเมียที่เกิดจากการสร้างสร้างโกลบินสายแอลฟา ลดน้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย (ชนิดนี้พบมากที่สุดในประเทศไทย)
เบตาทาลัสซีเมีย เป็นโรคธารัสซีเมียที่เกิดจากการสร้างสร้างโกลบินสายบีตา ลดน้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย
แอลฟา-เบตาทาลัสซีเมีย เกิดจากความบกพร่องของเส้นกรดอะมีโนแอลฟาและเบตา
ความรุนแรงของโรคทาลัสซีเมีย


โรคธารัสซีเมียจะมีอาการรุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม สามารถจำแนก ความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ

1. ไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย (Thalassemia Trait)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้จะเกิดจากความผิดปกติของยีนบนโครโมโซมเพียงข้างเดียว เรียกว่า เฮเทโรซัยกัส ทำให้ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย
2. แสดงอาการปานกลาง (Thalassimia intermedia)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้ มีอาการทางโลหิตจาง แต่ไม่มากนัก ร่างกายจะเจริญเติบโต ตามปกติ ตับและม้ามโตขึ้น มักจะแสดงอาการ ซีดเหลือง ตาเหลือง เมื่อมีไข้ หรือภาวะที่ร่างกายอ่อนแอและติดเชื้อ ซึ่งจะส่งผลให้เม็ด เลือดแดงแตกมาก
3. แสดงอาการรุนแรง (Thalassemia Disease)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้จะแสดงอาการรุนแรงตั้งแต่เด็กและมีการเจริญเติบโตช้า มีการสร้างเม็ดเลือดมากกว่า ปกติเพื่อทดแทนเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายโดยตับและม้าม ทำให้กระดูกขยายตัว ใบหน้าจะเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด มีลักษณะ กระดูกแก้มสูงนูนออกมามาก คิ้วห่างออกจากกัน ที่เรียกว่า mongoloid face ผู้ป่วย ชนิดนี้จะต้องรับเลือดเป็นประจำ ทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิน ก่อให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ถ้าสะสมภายที่อวัยวะ ภายในเช่น ตับ เป็นจำนวนมากจะทำให้ตับแข็ง

การดูแลรักษาผู้ป่วย
ผู้ที่เป็นพาหะ จะมีสุขภาพเหมือนกับคนปกติทั่วไป ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ นอกจากควรระวัง
ก่อน การมีบุตร ซึ่งถ้าคู่ครองปกติลูกที่คลอดออกมาจะเป็นพาหะทั้งหมด และถ้าคู่ครองเป็นพาหะ
เหมือนกันลูกที่คลอด มาจะมีโอกาส เป็นโรคธารัสซีเมีย 1 ใน 4 แต่ถ้าคู่ครองเป็นโรค ลูกที่คลอดมา
จะมีโอกาสเป็นโรค 2 ใน 4

ส่วนผู้ที่มีอาการต้องคอยระวังไม่ให้ร่างกาย อ่อนแอหรือมีไข้สูงเพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
ต้องรับประทาน อาหารที่ช่วยสร้างเม็ดเลือด และหลีกเลี่ยง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาเพิ่มเม็ดเลือด
ที่มีธาตุเหล็ก

สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าต้องทำการรักษาให้หายขาดหรือไม่
โดยการรักษาให้หายขาดจะ ทำได้ 2 วิธี คือ การปลูกถ่ายไขสันหลัง และการปลูกถ่ายจากเลือดสายสะดือ
การรักษาจะต้องทำกับผู้ป่วยที่มีอายุ และน้ำหนักน้อย และจะต้องตรวจสอบการต่อต้านเม็ดเลือดขาว
เสียก่อน

การรักษาให้หายขาดจะทำได้แต่ความผิดปกติทางยีนยังคงอยู่เหมือนเดิม และค่ารักษาพยาบาลจะสูงมาก
เบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ 1000,000-400,000 บาท และสถานที่รักษาพยาบาลมีอยู่น้อยมาก จะมีเพียง
โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเท่านั้นเพราะจะมีเครื่องมือในการสอนนักศึกษา

โอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียทั้งที่เป็นโรคและเป็นพาหะจะสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้
ในกรณีที่พ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียว โอกาสที่ลูกเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 หรือครึ่งต่อครึ่ง แต่จะไม่มีลูกคนใดเป็นโรค






ในกรณีที่พ่อและแม่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียทั้งคู่โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4 โอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 และ โอกาสที่จะปกติเท่ากับ 1 ใน 4






ในกรณีที่พ่อและแม่ ฝ่ายหนึ่งเป็นโรค และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 2 ใน 4 และ โอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 โดยลูกไม่มีโอกาสปกติเลย



ทั้งนี้อัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหรือพาหะในแต่ละครอบครัวจะเท่ากันทุกครั้งของการตั้งครรภ์

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ในบุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัย แต่มีบาง
ภาวะที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดก่อนเริ่มการออกกำลังกาย เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มี
โรคประจำตัว เป็นต้น เพราะอาจเกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
การออกกำลังกายแบ่งกว้างได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. การออกกำลังกายเฉพาะส่วน เช่น การบริหารข้อไหล่ในผู้ป่วยโรคไหล่ติด
การบริหารกล้ามเนื้อหลังในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง และการบริหารกล้าม
เนื้อรอบข้อเข่า ในกรณีที่มีข้อเข่าเสื่อมเป็นต้น

2. การออกกำลังกายโดยทั่วไป ซึ่งนอกจากจะมีผลทำให้จิตใจแจ่มใส
ร่างกายแข็งแรง และมีผลดีโดยอ้อมทำให้ผู้สูงอายุมีการทรงตัวที่ดีขึ้น
ลดอุบัติการณ์การลื่นล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของกระดูกหัก รวมทั้งการเกิด
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่น เช่น ภาวะปอดบวม ภาวะติดเชื้อ เป็นต้น


การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ควรเป็นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ
ได้แก่ กล้ามเนื้อแขนและขาไปพร้อมๆกัน โดยที่กล้ามเนื้อมีการเกร็งตัวและ
คลายตัวสลับกันและมีความต่อเนื่องของการทำงานของกล้ามเนื้อในระยะเวลาที่
กำหนด เช่น การวิ่งเหยาะๆ ในกรณีที่ไม่มี ข้อเข่าเสื่อม การเดิน การเต้นแอโรบิก
หรือการรำมวยจีน เป็นต้น ส่วนกีฬาชนิดต่างๆ เช่น เทนนิส กอล์ฟ แบดมินตัน
มักมีการหยุดยืนพักสลับระหว่างที่เล่นกีฬาดังกล่าว จึงไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร
สำหรับการทำงานของปอดและระบบหัวใจและหลอดเลือด แม้ว่าจะมีประโยขน์
ในแง่สันทนาการก็ตาม
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการออกกำลังกายโดยทั่วไป โดยเน้นถึงปัจจัยที่ต้องนำ
มาพิจารณาในการเลือกชนิดและวิธีการที่เหมาะสมในผู้สูงอายุ ตลอดจนภาวะ
ที่ควรระวังในการออกกำลังกายด้วย

ปัจจัยด้านผู้สูงอายุ
- อายุ กรณีผู้สูงอายุที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน แนะนำให้เริ่มจากการเดิน
แล้วค่อยปรับเปลี่ยนต่อไปอย่างช้าๆ แต่ถ้าผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำ
เสมออยู่แล้ว สามารถออกกำลังกายได้เช่นเดิมแต่ควรเพิ่มความระมัดระวัง
มากขึ้นถ้ามีโรคประจำตัว
- เพศ โดยทั่วไปเพศหญิงจะมีความสามารถในการออกกำลังกายน้อยกว่า
เพศชาย เพราะมีกล้ามเนื้อน้อยกว่าและความเข้มข้นของเลือดก็ต่ำกว่าด้วย
- น้ำหนัก มักพบโรคหัวใจได้บ่อยในคนอ้วน ดังนั้นการออกกำลังกายต่างๆ
ในผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักตัวมากจึงควรตรวจให้แน่ใจก่อน โดยเฉพาะถ้าเป็น
ชนิดที่ใช้ความรุนแรงสูง
- การทรงตัวและการเดิน ถ้ามีปัญหาในเรื่องนี้ควรระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะ
การออกกำลังกายที่มีการเดินหรือวิ่งร่วมด้วย เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
- โรคประจำตัว และยาที่รับประทานเป็นประจำ ยาบางตัวมีผลลดระดับน้ำตาล
ในเลือด อาจทำให้ผู้สูงอายุเป็นลมจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำขณะออกกำลัง
กายได้ หรือยากล่อมประสาทสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือมีอาการเครียด
อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน จึงควรเพิ่มความระมัดระวังขณะออกกำลังกาย
มากขึ้นปัจจัยด้านการออกกำลังกาย
- ระยะเวลา
- ความถี่
- ความรุนแรง โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงการออกกำลังกายมักนึกถึงประโยชน์เพื่อ
เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งเป็นการออกกำลังกายชีพจรเต้นอยู่ใน
พิสัยที่เหมาะสมคือ 70% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด
(อัตราการเต้นหัวใจสูงสุด = 220- อายุ(ปี) ) โดยที่เมื่อเริ่มต้นออกกำลังกาย
ให้อัตราการเต้นหัวใจเป็น 50% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด แล้วค่อยๆ เพิ่ม
ความรุนแรงของการออกกำลังกายในวัยต่อๆ ไปจนสามารถออกกำลังกาย
โดยที่ชีพจรเป็น 70% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดเป็นเวลาติดต่อกัน 20-30
นาทีในแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติพบว่า บางครั้งผู้สูงอายุที่มีโรค
ประจำตัวบางอย่างไม่สามารถออกกำลังกายต่อเนื่องกันได้นานถึง 20-30นาที
อาจอนุโลมให้ออกกำลังกายสลับพักรวมๆ กันในแต่ละครั้งได้


ปัจจัยภายนอกอื่นๆควรออกกำลังกายในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่ควรเดินหรือ
วิ่งในบริเวณที่มีพื้นผิวขรุขระเพราะจะทำให้มีอาการปวดข้อเท้าได้ง่าย รวม
ทั้งเสี่ยงต่อการล้มด้วย หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อน หรือ
อบอ้าว และเลือกเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมคือ ใส่สบาย ถ่ายเทความร้อนได้ดี
เช่น ผ้าฝ้าย เป็นต้น
อย่างไรก็ตามพบว่า มีบางภาวะที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
(ตารางที่ 1) หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุออกกำลังกายแล้วมีอาการบางอย่าง
(ตารางที่ 2) ก็เป็นอาการเตือนว่าได้ออกกำลังกายมากเกินไป ควรหยุดพัก
และออกกำลังกาย ในวันต่อๆไปด้วยความรุนแรงที่ลดลง

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ นอกจากจะพิจารณาปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว
ควร เลือกชนิดให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อม ตลอดจนอุปนิสัย
ของผู้สูงอายุด้วย รวมทั้งความเป็นไปได้ที่ผู้สูงอายุจะสามารถปฏิบัติได้อย่าง
สม่ำเสมอ


ตารางที่ 1 ภาวะที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
ภาวะที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
1. อาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่ยังควบคุมอาการไม่ได้
2. systolic BP ขณะพัก > 200 mmHg
3. diastolic BP ขณะพัก > 100 mmHg
4. มีความดันโลหิตสูงขณะออกกำลังกาย- systolic BP > 250 mmHg
- diasstoli BP > 120 mmHg
5. ลิ้นหัวใจตีบ ปานกลางถึงรุนแรง
6. การเต้นของหัวใจจังหวะไม่สม่ำเสมอ
7. การเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (> 100 ครั้ง/นาที) ระยะที่ยังควบคุม
ไม่ได้
8. ภาวะหัวใจวาย
9. การติดเชื้อหรืออักเสบของเยื่อบุ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ
10. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในระยะแรก
11. ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ
12. ภาวะไข้ โรคข้อหรือภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ ระยะเฉียบพลัน
13. ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจบางอย่าง
14. อาการเวียนศรีษะ
15. ได้รับยาบางชนิด
16. สภาวะแวดล้อม และภูมิอากาศไม่เหมาะสม
17. หลังรับประทานอาหารมื้อหลัก



ตารางที่ 2 อาการ
อาการแสดงขณะออกกำลังกายที่บ่งถึงการออกกำลังกายที่มากเกินไป
- เจ็บ หรือ แน่นหน้าอก
- มึนงง เวียนศรีษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดน่อง
- หน้าซีด หรือแดงคล้ำ
- หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว เกิน 10 นาที หลังหยุดพัก
- ชีพจรเต้นช้าลง
- ปวดข้อ
- น้ำหนักขึ้นชัดเจน

อาหารบำรุงผม




กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เส้นผมไม่เพียงช่วยให้เรามีรูปลักษณ์ที่ดี แต่คุณสมบัติที่สำคัญคือช่วยป้องกันหนังศีรษะของคนเราพ้นจากอันตรายจากแสงแดด ปัจจุบันเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าแสงแดดนั้นเป็นอันตรายต่อผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น และเกิดโรคมะเร็งของผิวหนังได้ง่าย แต่คุณทราบหรือไม่ว่าอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันมีผลสะท้อนต่อผมได้เช่นเดียวกับผิวหนังเหมือนกัน

เพราะผมมีสารประกอบของสารอาหารบางอย่าง จึงขึ้นอยู่กับตัวเราว่าจะให้สารอาหารแก่ผมอย่างไร

เส้นผมได้รับอาหารจากเลือดไปบำรุง ถ้าเลือดนั้นมีสารอาหารที่สำคัญสำหรับเส้นผม ผมก็จะเจริญงอกงาม รากผมก็จะยึดศีรษะแน่น จะร่วงก็ต่อเมื่อถึงคราวต้องร่วง และสามารงอกได้ทันกัน นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนักโภชนาการได้เคยทำการทดลองค้นคว้าเรื่อง อาหารบำรุงผม โดยได้ทำการทดลองกับสัตว์เลี้ยงสองกลุ่มคือ กลุ่มหนึ่งให้กินอาหารที่มีแร่ธาตุไอโอดีนคืออาหารทะเล ผักและผลไม้ ส่วนกลุ่มที่สองให้กินอาหารที่มีแต่แป้งและเนื้อสัตว์ ซึ่งจะได้คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเท่านั้น ปรากฏว่าสัตว์ทดลองกลุ่มที่หนึ่งมีขนดกดำสวยเป็นเงา ส่วนกลุ่มที่สองร่างกายอ้วนแข็งแรง แต่ขนสั้น ทั้ง ๆ ที่มีพ่อแม่เดียวกัน

อาหารที่มีสารไอโอดีนมากและหาง่ายในบ้านเราได้แก่ อาหารทะเลต่าง ๆ เช่น ปลา กุ้ง และอาหารที่ปรุงด้วยเกลือเสริมไอโอดีน

อาหารที่มีธาตุซิลิคอนคือ ข้าวที่ไม่ได้ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวแดง รองลงมาได้แก่ แตงกวา สตรอเบอรี่ หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี ผักกาดหอม ผักโขม

ส่วนอาหารที่มีธาตุกำมะถันได้แก่ กะหล่ำปลี หัวผักกาดขาว หัวหอมใหญ่ หัวหอมแดง กะหล่ำดอก ผักกาดแดง แอปเปิ้ล ผักเหล่านี้หาได้ไม่ยาก และสามารถกินได้ทั้งสดและหุงต้ม

ส่วนสาเหตุของผมร่วงนั้นมีหลายอย่าง การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามธรรมชาติของหญิงหลังคลอดบุตร หลังเป็นไข้ไทฟอยด์ การขาดอาหาร การใช้ยารักษาโรคมะเร็ง เชื้อรา เชื้อซิฟิลิส หรือเกิดจากความผิดปกติของเส้นผมเอง เช่น มีรอยหักกลาง และแม้แต่ความเครียดและการตกใจอย่างรุนแรง ก็อาจทำให้ผมร่วงได้ ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องผม ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำอย่างถูกต้อง ไม่ควรหาซื้อยามาใช้เอง

การปฏิบัติตนอย่างง่าย ๆ คือ ควรใช้หวีหรือแปรงที่ไม่แหลมคม ไม่ควรแปรงผมย้อนหลัง หรือยีผมแรง ๆ อย่ารัดผมหรือถักเปียจนแน่นเกินไป ควรใช้แชมพูอ่อน ๆ และบำรุงด้วยครีมนวดผม หรือปรับสภาพเส้นผม หากต้องการใช้สารเคมี เช่น ยาย้อมผม ยากัดสีผม ก็ควรใช้เมื่อจำเป็นและไม่ควรใช้บ่อยนัก

เส้นผมจะดูสวยเป็นเงางามได้ก็ต่อเมื่อได้รับการดูแลบำรุงรักษาทุกวัน รวมไปถึงการกินอาหารที่ดี ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และพยายามทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริง เพื่อช่วยลดความเครียด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ku.ac.th/e-magazine/december44/know/hair.html