ค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพอื่นๆ

Google
 

ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆให้ได้นะคะ

อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

Wednesday, May 20, 2009

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต

By : นพ.สุพัฒน์ วาณิชย์การ
หน่วยโรคไต โรงพยาบาลศิริราช

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต เป็นคำถามที่มักจะได้ยินบ่อยๆ คำตอบก้คือใช้ การวินิจฉัยโรค ซึ่งตามหลักวิชาแพทย์จะอาศัยกรรมวิธี 3 ประการคือ
1. การซักประวัติ (Signs) จะได้ทราบถึงลักษณะอาการ
2. การตรวจทางร่างกาย (Symptoms) จะได้ทราบอาการที่แสดง
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) คือการตรวจทางห้องแล็ป ได้แก่การ
ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และการเอ็กซ์เรย์ รวมทั้งการตรวจทางพยาธิวิทยา เช่น การตรวจทางชิ้นเนื้อ การเพาะเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น


โดยปกติแล้วเราต้องเรียนรู้กายวิภาคและสรีระหน้าที่ก่อน คือต้องรู้ว่าสภาพปกติของอวัยวะนั้นๆ เป็นอย่างไรก่อน แล้วจึงมารู้เรื่องพยาธิสภาพก็คือการรู้ภาวะการเป็นโรคซึ่งจะทราบถึงอาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องแล็ป พูดง่ายๆการที่จะรู้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ก็ต้องรู้สภาพปกติและหน้าที่ของไต รวมทั้งโรคต่างๆของไตเสียก่อน เมื่อไตเป็นโรคก็จะมีอาการ และอาการแสดงตลอดจนความผิดปกติทั้งทางสภาพและหน้าที่ เมื่อประมวลต่างๆเข้า
ด้วยกันก็จะรู้ว่าเป้นโรคไตหรือไม่

โรคไตสามารถใช้หลักในการแบ่งความผิดปกติได้หลายวิธี
1. แบ่งตามสาเหตุ

- โรคไตที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียวหรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็นกรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
- โรคไตที่เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
- โรคไตที่เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคที่เรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อโรค) เป็นต้น
- โรคไตที่เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
- เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

2.แบ่งตามกายวิภาคของไต
- โรคของหลอดเลือดของไต เช่นมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดไต
- โรคของกลุ่มเลือดฝอยของไต (Glomerulus) ซึ่งพบได้มาก เกิดการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ (Glomerulonephritis)
- โรคของหลอดไต (Tubule) เช่นการตายของหลอดไตภายหลังอาการช็อค หรือได้รับสารพิษ เกิดภาวะไตวายแบบเฉียบพลัน (Acute renal failure)
- โรคของเนื้อไต (Interstitium) เช่น แพ้ยาหรือได้รับสารพิษ เป็นต้น

3. แบ่งตามต้นเหตุ จะแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม
- ต้นเหตุจากภายในไตเอง ซึ่งอาจรูหรือไม่รู้สาเหตุก็ได้
- ต้นเหตุจากภายนอกไต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรค SLE

อาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดและตามระยะของโรค สิ่งตรวจพบอย่างหนึ่งอาจตรวจพบได้ในหลายๆโรค ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อาการบวม อาจเกิดจากโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ โรคขาดสารอาหารโปรตีน จากความผิดปกติของฮอร์โมน หรือจากผลข้างเคียงของยาบางตัว แต่คนทั่วไปอาจรูจักกันดีว่า อาการบวมเป็นอาการที่พบได้บ่อยในโรคไต ซึ่งก็เป็นจริงถ้ามีลักษณะบ่งชี้เฉพาะของโรคไตและแยกแยะโรคอื่นๆออกไปแล้ว ในขณะเดียวกัน โรคอื่นๆอาจจะมีอาการและสิ่งตรวจพบได้หลายอย่างที่มีส่วนคล้านเช่นโรคเอส แอล อี ซึ่งเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาจมีอาการแสดงออกตามระบบต่างๆเช่น ผิวหนัง เส้นผม ข้อ ไต หัวใจ ปอด และระบบเลือดเป็นต้น

ดังนั้นการวินิจฉัยดรคไตจะใช้วิธีย้อนศร กล่าวคือจะเริ่มดูจากปัสสาวะ ก่อนเพราะไตเป็นตัวสร้างและขับถ่ายปัสสาวะ ดังนั้นปัสสาวะกับไตน่าจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ที่สำคัญต้องมีขบวนการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอ็กซ์เรย์ บางครั้งอาจต้องเจาะไต (kidney biopsy) เอาเนื้อไตมาตรวจจึงจะทราบว่าเป็นโรคไต

เหตุสงสัยว่าจะเป็นโรคไต พอจะสรุปได้ดังนี้
- ปัสสาวะเป็นเลือด โดยปกติในน้ำปัสสาวะจะไม่มีเลือดหรือเม็ดเลือดสอออกมา อาจมีได้บ้างประมาณ 3-5 ตัว เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศ์ขยายปานกลางการมีเลือดออกในปัสสาวะถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็
อาจจะไม่ใช่ก็ได้ปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มก็ได้ ในสตรีที่มีประจำเดือน ปัสสาวะอาจถูกปนด้วยประจำเดือน กลายเป็นปัสสาวะสีเลือดได้ ถือว่าปกติ ในโรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะมักจะเป็นเลือดสดๆ หรือเป็นลิ่มๆได้ ในโรคของเนื่อไตหรือตัวไตเอง การมีเลือดในปัสสาวะมักเป็นแบบสีล้างเนื้อ สีชาแก่ หรือสีเหลืองเข้ม ในผู้ป่วยชาย จำเป็นต้องตรวจค้นหาสาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือด แม้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม แต่ในผู้หญิงเนื่องจากมีโอกาสกรพเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยอาจตรวจค้นหาสาเหตุได้ช้าหน่อยในหลายๆกรณีแม้การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ อาจยังไม่สามารถบอกสาเหตุได้ จำเป็นต้องเจาะเอาเนื่อไตมาตรวจโดยพยาธิแพทย์ จึงจะทราบถึงสาเหตุได้

-ปัสสาวะเป็นฟองมาก คนปกติเวลาปัสสาวะอาจจะมีฟองขาวๆบ้าง แต่ถ้าในปัสสาวะมีไข่ขาว (albumin) หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองได้มาก ขาวๆ เหมือนฟองสบู่จำเป็นต้องตรวจปัสสาวะ และเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะมาก ส่วนมากเป็นจากโรคหลอดเลือดฝอยของไตอักเสบจากไม่รู้สาเหตุ ทำให้ระดับโปรตีนในเลือดลดลงและเกิดอาการบวม รวมทั้งปริมาณโคเลสเตอรอลและไขมันเลือดสูงได้ การตรวจหาระดับโปรตีน (albumin) ในปัสสาวะด้วยตนเองการตรวจพบไข่ขาวออกมาในปัสสาวะในจำนวนไม่มากอาจพบได้ในโรคหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

แต่การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาใน ปัสสาวะพร้อมๆกัน เป็นข้อสัญนิฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต

-ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่นพวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น

-การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากและท่อทางเดินปัสสาวะ

- การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือดปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ

- การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็น โรคไตเป็นถุงน้ำ การอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต

- การปวดหลัง ในความหมายของคนทั่วๆไป การปวดหลังอาจไม่ใช่โรคไต เพราะการปวดบริเวณเอวมักเกิดจากโรคกระดูและข้อ หรือกล้ามเนื้อ ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่นและปวดหลังบิเวณไตคือบริเวณ
สันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย

อาการและอาการแสดงทั้งหมดที่กล่าวนี้ จัดเป็นอาการและอาการแสดงเฉพาะที่ซึ่งได้แก่ไต ทางเดินปัสสาวะ และการขับถ่าย ปัสสาวะ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มอาการและอาการแสดงที่ชวนให้สงสัยหรือเป็นส่วนหนึ่งของอาการดรคไตคือ อาการแสดงทั่วไป (systemic signs & symptoms) ได้แก่
- อาการบวม เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นโรคไตจะมีอาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั่วตัวอาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติคซินโดรม (Nephrotic Syndrome)อย่างไรก็ตามอาการบวมอาจเกิดได้จากโรค ตับ โรคหัวใจ การขาดสาร
อาหารโปร ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน และการบวมชนิดไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งต้องใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้แยกแยะ หรือยืนยันให้แน่นอน
- ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆความดันโลหิตก็จะสูงได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุของความดันโลหิตสูงนั้นมีมากมาย โรคไตเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น แต่ก็เป็นสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
- ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้ หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน Erythopoietin) เพื่อไป กระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรังไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีดหรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามือ เป็นลมบ่อยๆ

ขอแนะนำว่า ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็นโรคไตหรือไม่นั้น ต้องไปพบแพทย์ ทำการวักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้นว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ถ้าหากพบแพทย์ท่านหนึ่งแล้วยังสงสัยอยู่ก็ขอให้ไปพบและปรึกษาแพทย์โรคไตเฉพาะอายุรแพทย์โรคไต Nephrologist) หรือศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ (Urologist) ก็ได้

สารตะกั่วเป็นพิษ - Lead Poisoning

ตะกั่วเป็นพิษ เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งคราว ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ในบ้านเรา อาจพบการรับพิษสารตะกั่วจาก
แหล่งต่าง ๆ เช่น
1. โรงงานทำแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย ร้านอัดแบตเตอรี่ หรือขายแบตเตอรี่ ร้านเจียระไนเพชรพลอย(ซึ่งมีเครื่องมือที่มีตะกั่วเป็นส่วนประกอบ) โรงพิมพ์ที่ใช้ตัวพิมพ์ทำจากสารตะกั่ว ร้านเชื่อมโลหะ เป็นต้น
2. ใช้เปลือกแบตเตอรี่ที่ทิ้งแล้ว มาเป็นเชื้อเพลิง เคี่ยวน้ำตาล หรือมาปูลาดเป็นทางเดิน
3. ดื่มน้ำที่มีสารตะกั่วเจือปน เช่น น้ำจากบ่อที่แปดเปื้อนสารตะกั่ว หรือ น้ำจากท่อที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากเกินไป
4. สีทาบ้าน และสีที่ใช้ทาของเล่น ที่มีสารตะกั่วเจือปน เด็กอาจหยิบกินโดย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ บางครั้งอาจเป็นกันทั้งครอบครัว หรือทั้งหมู่บ้าน หรือทั้งโรงงาน ถ้าหากมีการรับสารตะกั่วจากแหล่งเดียวกัน เช่น ดื่มน้ำจากบ่อเดียวกันหรือ ทำงานในโรงงานเดียวกัน
5. แป้งทาเด็กที่มีสารตะกั่วเจือปน (เช่น ร้านขายยานำแป้งที่ใช้ผสมสีทาบ้าน มาขายเป็นแป้ง ทาแก้ผดผื่นคัน)
ผู้ปกครองซื้อมาทาเด็ก โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จนเกิดพิษตะกั่วเรื้อรัง


สาเหตุ
เกิดจากการสูดไอตะกั่ว หรือกิน หรือสัมผัสสารตะกั่ว (ดูดซึมผ่านผิวหนัง) เป็นเวลานาน จนร่างกายมีการสะสม สารตะกั่ว ถึงระดับที่เป็นพิษมักเกิดจากการประกอบอาชีพในโรงงานที่มีสารตะกั่ว หรือ เกิดจากความประมาทเลินเล่น หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเกิดจากการเล่นซนของเด็ก ๆ


อาการ
ผู้ป่วยอาจแสดงอาการได้หลายอย่าง เช่น ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรงโดยหาสาเหตุไม่พบ ร่วมกับอาการท้องผูก หรือไม่ก็ถ่ายเป็นเลือดอาจมีอาการซีด เนื่องจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายเร็วขึ้น และสร้างได้น้อยเนื่องจากพิษของตะกั่วที่มีต่อระบบเลือดอาจมีอาการปลายประสาทอักเสบ ซึ่งจะพบผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ที่พบได้บ่อย คือ ประสาทมือเป็นอัมพาตทำให้ข้อมือตก เหยียดไม่ขึ้น และประสาทเท้าเป็นอัมพาต ทำให้ปลายเท้าตกเดินขาปัด ที่ร้ายแรงได้แก่ภาวะผิดปกติทางสมอง ซึ่งจะพบมากในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กต่ำกว่า 5 ปี ส่วนผู้ใหญ่พบได้น้อย เด็กจะมีอาการเดินเซ อาเจียน ซึม เพ้อ บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิมนำมาก่อนแล้วจะมีอาการชักและหมดสติ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา ก็มักจะตายในที่สุด หรือไม่สมองอาจพิการ และปัญญาอ่อน

ส่วนในรายที่มีพิษตะกั่วเรื้อรัง อาจมีอาการอ่อน เพลีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ หงุดหงิด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ ขาเป็นตะคริว บางคนอาจพบรอยสีเทา ๆ ดำ ๆ ของสารตะกั่ว ที่ขอบเหงือก ในคนที่ไม่มีฟันจะไม่พบอาการนี้ และในเด็กก็มีโอกาสพบได้น้อย


การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล ถ้ามีอาการชัก ให้ฉีดไดอะซีแพม ก่อนส่งควรตรวจดูระดับตะกั่วในเลือด (มักพบสูงกว่า 80 ไมโครกรัม ต่อเลือด 100 มล.) และในปัสสาวะ (มักพบสูงกว่า1 มิลลิกรัมต่อปัสสาวะ 24 ชั่วโมง) สารคอโพรพอร์ไพริน (Coproporphyrin) ในปัสสาวะ จะมีค่าสูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อปัสสาวะ 100 มล.การตรวจดูเม็ดเลือดแดง จะพบลักษณะที่เรียกว่า Basophilic stippling การตรวจเอกซเรย์ อาจพบรอยทึบแสงของสารตะกั่วในลำไส้ และรอยสะสมของตะกั่วที่ปลายกระดูกแขนขา การรักษา ให้ฉีดยาขับตะกั่ว ได้แก่ ไดเมอร์แคปรอล (Dimercaprol) เช่น บีเอแอล (BAL) ร่วมกับ
แคลเซียมไดโซเดียมอีดีเทต (Calcium disodium edetate) เช่น อีดีทีเอ (EDTA) เป็นเวลา 5-7 วัน เมื่ออาการดีขึ้น ควรให้กินเพนิซิลลามีน (Penicillamine) ต่ออีก 1-2 เดือน (ในผู้ใหญ่) หรือ 3-6 เดือน (ในเด็ก)ผลการรักษา ถ้าไม่มีอาการทางสมอง ก็มักจะหายเป็นปกติได้ แต่ถ้ามีอาการทางสมอง อาจมีอันตรายถึง ทุพพลภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในเด็ก อายุต่ำกว่า 2 ปี อาจมีอัตราตายถึง 25%


ข้อแนะนำ
1. โรคตะกั่วเป็นพิษอาจมีอาการได้หลายแบบ ดังนั้น ถ้าพบคนที่มีอาการปวดท้อง, ซีด, ข้อมือตก ,ข้อเท้าตก,บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม, เพ้อ, ชัก หรือหมดสติ ควรถามประวัติการเกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว หากสงสัยควรส่งไปตรวจรักษา ที่โรงพยาบาล

2. คนที่มีอาการผิดปกติทางสมอง เนื่องจากตะกั่วเป็นพิษ อยู่ ๆ อาจแสดงอาการแปลก ๆ เช่น เพ้อ คลุ้มคลั่ง ชัก
ชาวบ้านอาจเข้าใจผิดว่าเกิดจาก "ผีเข้า" หรือ "วิกลจริต" แล้วพาไปรักษาทางไสยศาสตร์ ซึ่งมักจะเสียชีวิต ลงอย่างน่าอนาถ ทางที่ดี ควรหาทางชักจูงให้ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล เพราะมีทางรักษาให้หายได้


การป้องกัน
1. คนที่ทำงานเกี่ยวกับสารตะกั่ว (เช่น โรงงานแบตเตอรี่) ควรหามาตรการป้องกันโดยการจัดสภาพ การทำงานให้ปลอดภัย (เช่น มีเสื้อคลุมป้องกันพิษ ตะกั่ว, มีอ่างน้ำและห้องอาบน้ำพอเพียง, มีทางระบาย ไม่ให้มีการสะสมของฝุ่นตะกั่ว) ห้ามสูบบุหรี่ และ กินอาหารในห้องที่มีสารตะกั่ว และควรมีการตรวจระดับตะกั่วในเลือดและปัสสาวะทุก 6 เดือน ถ้าพบว่า ระดับตะกั่วสูงควรให้หยุดงานหรือเปลี่ยนไปทำงาน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว ถ้าสูงมากควรให้กินยาลดสารตะกั่ว ถึงแม้จะยังไม่มีอาการแสดงก็ตาม
2. ควรแนะนำให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงอันตราย ของตะกั่วซึ่งมีเจือปนอยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แบตเตอรี่ ถ่ายไฟฉาย สีทาบ้าน ของเล่นเด็ก เป็นต้น เพื่อป้องกันมิให้นำไปใช้ในทางที่ผิด ๆ หรือหาทาง ป้องกันมิให้ เด็ก ๆ หยิบกินเล่นด้วยความไร้เดียงสา หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์


รายละเอียด
อย่าลืมถามประวัติการสัมผัสสารตะกั่วในคนที่ปวดท้อง ซีด ชัก หมดสติ ข้อมือข้อเท้าตก

โรคพยาธิตืดหมู Taenia solium Infection


พยาธิตัวตืดเป็นพยาธิตัวแบนในกลุ่มของ Cestoidea มีลักษณะแบนเป็นปล้องๆต่อกันยาวคล้ายเส้นบะหมี่ทั้งเส้นเล็ก ใหญ่ ยาว สั้น และเนื่องจากพยาธินี้มีลักษณะแบนยาวคล้ายเทป จึงมีชื่อเรียกกันทั่วๆไปว่า "Tapeworms" พยาธิตัวตืดที่เป็นปรสิตในคนมีอยู่หลายชนิด ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยมีดังต่อไปนี้
Taenia solium พยาธิตืดหมู ( ทีเนีย โซเลียม )
Taenia saginata พยาธิตืดวัว ( ทีเนีย ซาจินาตา )
ที่พบได้บางแต่ไม่บ่อยเช่น Hymenolepis nana, Hymenolepis deminuta เป็นต้น

พยาธิตืดหมู เป็นโรคพยาธิที่เกิดจากพยาธิตืดหมู ทั้งนี้เพราะหมูเป็นโฮสท์กลางตัวสำคัญที่มีระยะ
ติดต่ออันตรายของพยาธินี้ พยาธิตืดหมูทำให้เกิดโรคในคนได้ 2 อย่างคือ
- การที่มีพยาธิตัวแก่เต็มวัยอยู่ในลำไส้โดยที่คนจัดเป็นโฮสท์เฉพาะ ( Definitive host )
- การที่มีพยาธิตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในกล้ามเนื้อคน และมีถุงซีสต์หุ้มล้อมรอบอยู่ เรียก ซีสติเซอร์คัส
เซลลูโลเซ (Cystucercus cellulosae) โดยที่คนถือเป็นโฮสท์กลาง ( Intermediate host ) พบได้บ่อยในคนที่นิยมกินเนื้อหมูแบบดิบๆสุกๆ ในกลุ่มพวกยิว และอิสลามที่ไม่ทานหมู จึงไม่พบคนที่เป็นโรคนี้เลยหรือพบได้น้อยมาก สำหรับในประเทศไทยเราพบพยาธิตืดหมูได้น้อยกว่าพยาธิตืดวัวมาก พบได้ในภาคอีสานมากกว่าที่อื่นๆเนื่องจากชอบทานแบบสุกๆดิบๆ เช่น ลาบเนื้อลาบหมู ยำเนื้อ พล่าเนื้อ แหนม เป็นต้น

วงจรชีวิตของพยาธิ
ตัวแก่ของพยาธิตืดหมูอาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของคนซึ่งจัดเป็นโฮสท์เฉพาะ ปล้องแก่ของตัวพยาธิจะหลุดออกปนมากับอุจจาระหรือหลุดออกมาเอง ปล้องเดียว หรือ2-3 ปล้อง ในแต่ละปล้องจะมีไข่อยู่ประมาณ 1000 ฟองต่อมาปล้องจะแตกออกปล่อยไข่กระจายปนเปื้อนอยู่ปนพื้นดินหรือติดไปตามต้นหญ้า บางครั้งปล้องอาจแตกออกก่อนในลำไส้ใหญ่ ไข่จะปนออกมากับอุจจาระ ไข่ที่มีตัวอ่อนในระยะติดต่ออยู่จะเรียกว่า Oncospore (ออนโคสปอร์)

ภาพไข่ของพยาธิ์ตัวกลม Ascaris lumbricoides (แอสคารีส ลัมบิคอยดีส์) ที่ปล่อยมาจากตัวพยาธิ์ที่โตเต็มวัย ปนออกมากับอุจจาระ










กลุ่มพยาธิ์ตัวกลม Nematode ภาพโตเต็มวัยของพยาธิ์ตัวกลม Ascaris lumbricoides (แอสคารีส ลัมบิคอยดีส์) ที่อาศัยพบได้บริเวณลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ บางครั้งพบได้ที่ม้าม/ ตับอ่อน ขนาดตัวโตเต็มวัย ยาว 25-35 ซ.ม. ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย






เมื่อหมูซึ่งเป็นโฮสท์กลาง กินเอาปล้องของพยาธิตัวตืด หรือไข่พยาธิระยะ Oncospore เข้าไปตัวอ่อน
จะไชออกจากไข่แล้วไชทุลุผนังลำไส้เข้าสู่วงจรเลือดหรือน้ำเหลืองไปยังกล้ามเนื้อทั่วร่างกายของหมู
ฝังตัวอยู่โดยมีถุงหุ้มล้อมรอบตัวอยู่เรียกว่า cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส )ซึ่งถือเป็นระยะติดต่ออันตราย
ระยะเวลาทั้งหมดกินเวลาประมาณ 60 - 70 วัน เนื้อหมูที่มี cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส ) อยู่ เรียกว่าหมูสาคู เพราะจะดูคล้ายๆเม็ดสาคูอยู่ในเนื้อหมูนั้น เมื่อคนกินเนื้อหมูสาคูที่มีระยะติดต่ออันตรายแบบดิบๆสุกๆเข้าไป เมื้อเนื้อหมูถูกย่อยก็จะปล่อย cycticercus ออกมา พอเคลื่อนตัวมาถึงลำไส้เล็กส่วนหัวเรียกว่า Scolex (สโคเล็กซ์ ) จะยื่นโผล่ออกมา แล้วใช้ส่วนที่เป็น ขอ (hook) และส่วนดูดติด ( sucker) มาเกาะติดกับผนังลำไส้ ดูดเลือดและอาหารและจะค่อยๆงอกปล้องออกมาเรื่อยๆ เจริญต่อไปเป็นตัวแก่ต่อไป ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2 - 3 เดือน ปล้องแก่เมื่อมีไข่เต็มก็จะหลุดออกปนไปกับอุจจาระเพื่อไปติดต่อ ต่อไป

อาการและลักษณะพยาธิสภาพ
โดยทั่วไปมักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงแต่อย่างใด แต่จะเป็นโรคที่เกิดจากการถูกแย่งอาหาร และ
การระคายเคืองจากสารพิษของพยาธิเอง ที่พบได้บ่อยเช่นผอมลง น้ำหนักลด ขาดอาหารทั้งที่ทาน
ได้เป็นปกติ หิวบ่อย ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระบ่อย กระสับกระสาย นอนไม่หลับ
อาการแพ้ คัน ลมพิษ

การตรวจวินิจฉัยโรค

1. ตรวจพบไข่พยาธิ ตัวตืดในอุจจาระ พยาธิตืดหมูและตืดวัวมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ต่างกันที่
ขนาด การตรวจจากปล้องจะแน่นอนกว่า
2. การตรวจจากปล้องที่หลุดปนออกมากับอุจจาระ โดยที่ปล้องของตืดหมูจะมีแขนงภายในปล้องน้อย
กว่าตืดวัว

การรักษา1. Niclosamide ( Yomesan ) มีฤิทธ์ฆ่าเชื้อพยาธิตัวตืดหมู เป็นยาเม็ดขนาด 0.5 กรัม ทาน 4 เม็ด เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน รอประมาณ 2 ชั่วโมง อาจทานยาถ่ายตามเช่น ดีเกลืออิ่นตัว 30 ซี.ซี. เมื่อให้ยาถ่ายจะพบว่าตัวพยาธิจะถูกขับออกมา แต่ถ้าไม่ให้ยาถ่ายพยาธิที่ตายจะค่อยๆถูกย่อย สลายปนออกมากับอุจจาระไป ข้อควรระวังการให้ยาถ่ายคือควรให้ยากันอาเจียนก่อนให้ยาถ่าย และ ควรให้ยาถ่ายเพื่อกำจัดปล้องออกมา เพราะถ้าตัวแก่ตายอยู่ภายในร่างกาย ปล้องที่ถูกย่อย กอรปกับ การมีอาการท้องผูก ท้องอืด หรือคลื่นไส้อาเจียน จะทำให้ไข่พยาธิที่แตกออกมาจากปล้องถูกย่อยและ ขย้อยกลับมาที่บริเวณลำไส้เล็กไข่พยาธิตัวอ่อนระยะ Oncospore (ออนโคสปอร์) ก็จะออกมาพร้อม กับไชทะลุลำไส้กระจายไปฝังตัวตามเนื้อเยื่อส่วนต่างๆทั่วร่างกายกลายเป็นระยะ cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส ) ขึ้นมาได้ 2. Mebendazole (Fugacar) เป็นยาเม็ดขนาด 100 มิลลิกรัม ทานครั้งละ 2 เม็ด ให้กินเช้าเย็น ติดต่อกันนาน 4 วัน ให้ผลในการรักษาถึงร้อยละ 90

การป้องกัน

1. เนื้อหมูที่นำมารับประทานต้องไม่เป็นเนื้อที่มีตัวอ่อนพยาธิฝังตัวอยู่ เรียกเนื้อสาคู
2. รับประทานเนื้อหมูที่ทำให้สุกแล้วเท่านั้น ไม่ทานเนื้อที่กึ่งสุกๆดิบๆ เช่น ยำ พล่า แหนม
3. กำจัดอุจจาระให้เป็นที่เป็นทางถูกหลักสุขอนามัย
4. ให้ยาถ่ายพยาธิแก่คนที่เป็นโรคนี้

อาการซีสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ (Cysticercus cellulosae) เป็นช่วงวงจรที่แปลกไปจากวงจรปกติ คือคนเกิดไปทานเอาไข่พยาธิตัวตืดในระยะ Oncospore (ออนโคสปอร์) ที่ติดอยู่ตามพืชผัก ผลไม้หรือการอาเจียน ขย้อนเอาปล้องแก่พยาธิตัวตืด (สำหรับคนที่เป็นพยาธิอยู่แล้ว) กลับเข้ามาอยู่ในกระเพาะอาหาร คนก็จะกลายเป็นโฮสท์ตัวกลางในรูปแบบนี้แทนที่หมู โดยเมื่อ ไข่พยาธิถูกย่อยตัวอ่อนก็จะฟักออกจากไข่ และไชทะลุลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำเหลือง ไปยังกล้ามเนื้อหรืออวัยวะต่างๆของร่างกาย แล้วฝังตัวมีซิสท์มาหุ้มรอบตัวพยาธิกลายเป็นระยะ cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ ) ในระยะแรกจะมีอาการอักเสบฉพาะที่ๆมีพยาธิฝังอยู่ นานเข้าก็จะมีหินปูนมาจับทำ cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ ) ในระยะแรกจะมีอาการอักเสบเฉพาะที่ๆมีพยาธิฝังอยู่นานเข้าก็จะมีหินปูนมาจับทำให้มีลักษณะนูนสูงขึ้น ขนาดที่พบได้ประมาณ 0.5 - 3 ซ.ม.ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ดี มักเป็นการรักษาบรรเทาตามอาการ การผ่าตัดเอาออกเป็นเรื่องยากและขึ้นกับตำแหน่งที่ฝังตัวอยู่ ดังนั้นการผ่าต้ดมักเป็นเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคมากกว่าการรักษา