ค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพอื่นๆ

Google
 

ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆให้ได้นะคะ

อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

Monday, March 31, 2008

ทาลัสซีเมีย Thalassemia


Normal Red Blood Cells Alpha Thalassemia Beta Thalassemia

ลักษณะทั่วไป
เป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายสร้าง
เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร ทำให้มี
อาการซีดเหลืองเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการแสดงของโรคนี้ จะต้องรับกรรมพันธุ์ที่
ผิดปกติมาจากทั้งฝ่ายพ่อและแม่ (ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง) ถ้ารับจากฝ่าย
ใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่มีอาการแสดง แต่จะมีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ
อยู่ในตัวและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไป

ในบ้านเราพบว่ามีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติของโรคนี้ โดยไม่แสดงอาการเป็น
จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนอีสาน อาจมีถึง 40% ของประชากร
ทั่วไปที่มีกรรมพันธุ์ของโรคนี้ ส่วนผู้ที่มีอาการของโรคนี้อย่างชัด ๆ มี
ประมาณ 1 ใน 100 คน โรคนี้อาจแบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งมีความรุนแรง
มากน้อยแตกต่างกันไป


สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลืองและตับม้ามโตมาตั้งแต่เด็ก ร่างกายเติบโตช้า
ตัวเตี้ย และน้ำหนักน้อยไม่สมอายุ ในรายที่เป็นทาลัสซีเมียชนิดอ่อนที่เรียก
ว่า โรคฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H disease) ตามปกติจะไม่มีอาการ
ผิดปกติแต่อย่างไร แต่จะมีอาการซีดเหลืองเป็นครั้งคราวขณะที่เป็นหวัด
เจ็บคอ หรือเป็นโรคติดเชื้ออื่น ๆ แบบเดียวกับโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือด
แดงแตก

สิ่งตรวจพบ
ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลือง หน้าแปลก โดยมีสันจมูกแบะ (จมูกแบน) หน้า
ผากโหนกชัน กระดูกแก้มและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันยื่นเขยิน ลูกตาอยู่
ห่างกันมากกว่าคนปกติ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า หน้ามงโกลอยด์หรือ หน้า
ทาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักจะมีม้ามโตมาก บางรายอาจโตถึงสะดือ (คลำได้ก้อน
แข็งที่ใต้ชายโครงซ้าย) อาการม้ามโต ชาวบ้านอาจเรียกว่า ป้าง หรือ
อุปถัมภ์ม้ามย้อย (จุกกระผามม้ามย้อย)

อาการแทรกซ้อน
ถ้าซีดมาก อาจทำให้มีอาการหอบเหนื่อย บวม และตับโต เนื่องจากหัวใจวาย
บางคนอาจเป็นไข้ เจ็บคอบ่อยจนกลายเป็นโรคหัวใจรูมาติก หรือหน่วยไต
อักเสบ ผู้ป่วยอาจมีนิ่วในถุงน้ำดี ได้บ่อยกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีสารบิลิรูบิน
จากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ในรายที่มีชีวิตอยู่ได้นาน
จะมีเหล็ก (ที่ได้จากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง) สะสมในอวัยวะต่าง ๆ
เช่น ที่ผิวหนังทำให้ผิวออกเป็นสีเทาอมเขียว ที่ตับทำให้ตับเข็ง ที่หัวใจทำให้
หัวใจโตและเหนื่อยง่าย เป็นต้น

ข้อแนะนำ

1. ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารพวกโปรตีน และอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง (เช่น ผัก
ใบเขียว เนื้อสัตว์) มาก ๆ เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง
2. อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า โรคนี้เป็นโรคกรรมพันธุ์ติดตัวไปตลอด
ชีวิต ไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องอาจ
มีชีวิตยืนยาวได้ ควรรักษาที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านเป็นประจำไม่ควร
กระเสือกกระสนย้ายหมอ ย้ายโรงพยาบาล ทำให้หมดเปลืองเงินทองโดย
ใช่เหตุ
3. แนะนำให้พ่อแม่ที่มีลูกเป็นทาลัสซีเมียคุมกำเนิด หรือผู้ที่มีประวัติว่ามี
ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ ไม่ควรแต่งงานกัน หรือจำเป็นต้องแต่งงานก็ไม่ควรมี
บุตร เพราะลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 4 (ร้อยละ 25) ทำให้เกิด
ภาวะยุ่งยากในภายหลังได้ ถ้าหากมีการตั้งครรภ์ ในปัจจุบันมีวิธีการเจาะ
เอาน้ำคร่ำมาตรวจดูว่าทารกเป็นโรคนี้หรือไม่ ดังที่เรียกว่า "การวินิจฉัย
ก่อนคลอด" (Prenatal diagnosis) ถ้าพบว่าผิดปกติ อาจพิจารณาทำแท้ง
4. ในปัจจุบันสามารถใช้วิธีการพิเศษ เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อกรรมพันธุ์ของโรค
นี้หรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ก่อนแต่งงานควรตรวจดูให้แน่นอน


โรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดพลาดของโครโมโซม
ทำให้ปริมาณ การสร้างโกลบินลด น้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย แต่ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับ
ลักษณะของความ ผิดปกติ ของยีนบน โครโมโซม

โดยปกติส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงภายในร่างกายคน คือ ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนสีแดง
องค์ประกอบ ของฮีโมโกลบินประกอบด้วยกรดอะมิโนเรียงตัวกัน 4 เส้น และ 4 เส้นนี้ประกอบด้วย
กรดอะมิโนเส้นแอลฟา 2 เส้น และบีตา 2 เส้น เมื่อเกิดความผิดปกติในการสร้างเส้นกรดอะมิโนดังกล่าว
ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย และมีอายุ น้อยกว่าปกติ (ปกติเม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 120 วัน
สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคธารัสซีเมีย เม็ดเลือดจะมีอายุ ประมาณ50-60 วัน)
ปริมาณเม็ดเลือดแดงที่เหลือไม่สามารถนำเอา ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ อย่างเพียงพอ
ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

ดังนั้นลักษณะของผู้ที่ป่วยที่มีอาการจะมีตัวซีดเหลือง
ถ้าเป็นชนิดรุนแรงจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ รวมไปถึงชนิดที่รุนแรงมากที่สุดอาจจะเสียชีวิตได้
และภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากเม็ดเลือดแดงแตก จะทำให้ ผู้ป่วยมีปริมาณธาตุเหล็กมากกว่าปกติ
ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ จนเป็นอันตรายภายหลัง นอกจากนี้ ผู้ป่วยทาลัสซีเมียชนิดมี
อาการมักจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ (แต่สมองจะพัฒนาไปตามปกติ ไม่มี ปัญหาทางสมอง
หรือปัญญาอ่อน)

จากความปกติของโกลบินทำให้สามารถแบ่งแยกประเภทของโรคทาลัสซีเมียได้ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ


แอลฟาทาลัสซีเมีย เป็นโรคธารัสซีเมียที่เกิดจากการสร้างสร้างโกลบินสายแอลฟา ลดน้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย (ชนิดนี้พบมากที่สุดในประเทศไทย)
เบตาทาลัสซีเมีย เป็นโรคธารัสซีเมียที่เกิดจากการสร้างสร้างโกลบินสายบีตา ลดน้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย
แอลฟา-เบตาทาลัสซีเมีย เกิดจากความบกพร่องของเส้นกรดอะมีโนแอลฟาและเบตา
ความรุนแรงของโรคทาลัสซีเมีย


โรคธารัสซีเมียจะมีอาการรุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม สามารถจำแนก ความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ

1. ไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย (Thalassemia Trait)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้จะเกิดจากความผิดปกติของยีนบนโครโมโซมเพียงข้างเดียว เรียกว่า เฮเทโรซัยกัส ทำให้ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย
2. แสดงอาการปานกลาง (Thalassimia intermedia)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้ มีอาการทางโลหิตจาง แต่ไม่มากนัก ร่างกายจะเจริญเติบโต ตามปกติ ตับและม้ามโตขึ้น มักจะแสดงอาการ ซีดเหลือง ตาเหลือง เมื่อมีไข้ หรือภาวะที่ร่างกายอ่อนแอและติดเชื้อ ซึ่งจะส่งผลให้เม็ด เลือดแดงแตกมาก
3. แสดงอาการรุนแรง (Thalassemia Disease)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้จะแสดงอาการรุนแรงตั้งแต่เด็กและมีการเจริญเติบโตช้า มีการสร้างเม็ดเลือดมากกว่า ปกติเพื่อทดแทนเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายโดยตับและม้าม ทำให้กระดูกขยายตัว ใบหน้าจะเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด มีลักษณะ กระดูกแก้มสูงนูนออกมามาก คิ้วห่างออกจากกัน ที่เรียกว่า mongoloid face ผู้ป่วย ชนิดนี้จะต้องรับเลือดเป็นประจำ ทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิน ก่อให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ถ้าสะสมภายที่อวัยวะ ภายในเช่น ตับ เป็นจำนวนมากจะทำให้ตับแข็ง

การดูแลรักษาผู้ป่วย
ผู้ที่เป็นพาหะ จะมีสุขภาพเหมือนกับคนปกติทั่วไป ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ นอกจากควรระวัง
ก่อน การมีบุตร ซึ่งถ้าคู่ครองปกติลูกที่คลอดออกมาจะเป็นพาหะทั้งหมด และถ้าคู่ครองเป็นพาหะ
เหมือนกันลูกที่คลอด มาจะมีโอกาส เป็นโรคธารัสซีเมีย 1 ใน 4 แต่ถ้าคู่ครองเป็นโรค ลูกที่คลอดมา
จะมีโอกาสเป็นโรค 2 ใน 4

ส่วนผู้ที่มีอาการต้องคอยระวังไม่ให้ร่างกาย อ่อนแอหรือมีไข้สูงเพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
ต้องรับประทาน อาหารที่ช่วยสร้างเม็ดเลือด และหลีกเลี่ยง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาเพิ่มเม็ดเลือด
ที่มีธาตุเหล็ก

สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าต้องทำการรักษาให้หายขาดหรือไม่
โดยการรักษาให้หายขาดจะ ทำได้ 2 วิธี คือ การปลูกถ่ายไขสันหลัง และการปลูกถ่ายจากเลือดสายสะดือ
การรักษาจะต้องทำกับผู้ป่วยที่มีอายุ และน้ำหนักน้อย และจะต้องตรวจสอบการต่อต้านเม็ดเลือดขาว
เสียก่อน

การรักษาให้หายขาดจะทำได้แต่ความผิดปกติทางยีนยังคงอยู่เหมือนเดิม และค่ารักษาพยาบาลจะสูงมาก
เบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ 1000,000-400,000 บาท และสถานที่รักษาพยาบาลมีอยู่น้อยมาก จะมีเพียง
โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเท่านั้นเพราะจะมีเครื่องมือในการสอนนักศึกษา

โอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียทั้งที่เป็นโรคและเป็นพาหะจะสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้
ในกรณีที่พ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียว โอกาสที่ลูกเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 หรือครึ่งต่อครึ่ง แต่จะไม่มีลูกคนใดเป็นโรค






ในกรณีที่พ่อและแม่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียทั้งคู่โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4 โอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 และ โอกาสที่จะปกติเท่ากับ 1 ใน 4






ในกรณีที่พ่อและแม่ ฝ่ายหนึ่งเป็นโรค และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 2 ใน 4 และ โอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 โดยลูกไม่มีโอกาสปกติเลย



ทั้งนี้อัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหรือพาหะในแต่ละครอบครัวจะเท่ากันทุกครั้งของการตั้งครรภ์

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ในบุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัย แต่มีบาง
ภาวะที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดก่อนเริ่มการออกกำลังกาย เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มี
โรคประจำตัว เป็นต้น เพราะอาจเกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
การออกกำลังกายแบ่งกว้างได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. การออกกำลังกายเฉพาะส่วน เช่น การบริหารข้อไหล่ในผู้ป่วยโรคไหล่ติด
การบริหารกล้ามเนื้อหลังในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง และการบริหารกล้าม
เนื้อรอบข้อเข่า ในกรณีที่มีข้อเข่าเสื่อมเป็นต้น

2. การออกกำลังกายโดยทั่วไป ซึ่งนอกจากจะมีผลทำให้จิตใจแจ่มใส
ร่างกายแข็งแรง และมีผลดีโดยอ้อมทำให้ผู้สูงอายุมีการทรงตัวที่ดีขึ้น
ลดอุบัติการณ์การลื่นล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของกระดูกหัก รวมทั้งการเกิด
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่น เช่น ภาวะปอดบวม ภาวะติดเชื้อ เป็นต้น


การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ควรเป็นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ
ได้แก่ กล้ามเนื้อแขนและขาไปพร้อมๆกัน โดยที่กล้ามเนื้อมีการเกร็งตัวและ
คลายตัวสลับกันและมีความต่อเนื่องของการทำงานของกล้ามเนื้อในระยะเวลาที่
กำหนด เช่น การวิ่งเหยาะๆ ในกรณีที่ไม่มี ข้อเข่าเสื่อม การเดิน การเต้นแอโรบิก
หรือการรำมวยจีน เป็นต้น ส่วนกีฬาชนิดต่างๆ เช่น เทนนิส กอล์ฟ แบดมินตัน
มักมีการหยุดยืนพักสลับระหว่างที่เล่นกีฬาดังกล่าว จึงไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร
สำหรับการทำงานของปอดและระบบหัวใจและหลอดเลือด แม้ว่าจะมีประโยขน์
ในแง่สันทนาการก็ตาม
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการออกกำลังกายโดยทั่วไป โดยเน้นถึงปัจจัยที่ต้องนำ
มาพิจารณาในการเลือกชนิดและวิธีการที่เหมาะสมในผู้สูงอายุ ตลอดจนภาวะ
ที่ควรระวังในการออกกำลังกายด้วย

ปัจจัยด้านผู้สูงอายุ
- อายุ กรณีผู้สูงอายุที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน แนะนำให้เริ่มจากการเดิน
แล้วค่อยปรับเปลี่ยนต่อไปอย่างช้าๆ แต่ถ้าผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำ
เสมออยู่แล้ว สามารถออกกำลังกายได้เช่นเดิมแต่ควรเพิ่มความระมัดระวัง
มากขึ้นถ้ามีโรคประจำตัว
- เพศ โดยทั่วไปเพศหญิงจะมีความสามารถในการออกกำลังกายน้อยกว่า
เพศชาย เพราะมีกล้ามเนื้อน้อยกว่าและความเข้มข้นของเลือดก็ต่ำกว่าด้วย
- น้ำหนัก มักพบโรคหัวใจได้บ่อยในคนอ้วน ดังนั้นการออกกำลังกายต่างๆ
ในผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักตัวมากจึงควรตรวจให้แน่ใจก่อน โดยเฉพาะถ้าเป็น
ชนิดที่ใช้ความรุนแรงสูง
- การทรงตัวและการเดิน ถ้ามีปัญหาในเรื่องนี้ควรระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะ
การออกกำลังกายที่มีการเดินหรือวิ่งร่วมด้วย เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
- โรคประจำตัว และยาที่รับประทานเป็นประจำ ยาบางตัวมีผลลดระดับน้ำตาล
ในเลือด อาจทำให้ผู้สูงอายุเป็นลมจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำขณะออกกำลัง
กายได้ หรือยากล่อมประสาทสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือมีอาการเครียด
อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน จึงควรเพิ่มความระมัดระวังขณะออกกำลังกาย
มากขึ้นปัจจัยด้านการออกกำลังกาย
- ระยะเวลา
- ความถี่
- ความรุนแรง โดยทั่วไปเมื่อพูดถึงการออกกำลังกายมักนึกถึงประโยชน์เพื่อ
เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งเป็นการออกกำลังกายชีพจรเต้นอยู่ใน
พิสัยที่เหมาะสมคือ 70% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด
(อัตราการเต้นหัวใจสูงสุด = 220- อายุ(ปี) ) โดยที่เมื่อเริ่มต้นออกกำลังกาย
ให้อัตราการเต้นหัวใจเป็น 50% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด แล้วค่อยๆ เพิ่ม
ความรุนแรงของการออกกำลังกายในวัยต่อๆ ไปจนสามารถออกกำลังกาย
โดยที่ชีพจรเป็น 70% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดเป็นเวลาติดต่อกัน 20-30
นาทีในแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติพบว่า บางครั้งผู้สูงอายุที่มีโรค
ประจำตัวบางอย่างไม่สามารถออกกำลังกายต่อเนื่องกันได้นานถึง 20-30นาที
อาจอนุโลมให้ออกกำลังกายสลับพักรวมๆ กันในแต่ละครั้งได้


ปัจจัยภายนอกอื่นๆควรออกกำลังกายในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่ควรเดินหรือ
วิ่งในบริเวณที่มีพื้นผิวขรุขระเพราะจะทำให้มีอาการปวดข้อเท้าได้ง่าย รวม
ทั้งเสี่ยงต่อการล้มด้วย หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อน หรือ
อบอ้าว และเลือกเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมคือ ใส่สบาย ถ่ายเทความร้อนได้ดี
เช่น ผ้าฝ้าย เป็นต้น
อย่างไรก็ตามพบว่า มีบางภาวะที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
(ตารางที่ 1) หรือในกรณีที่ผู้สูงอายุออกกำลังกายแล้วมีอาการบางอย่าง
(ตารางที่ 2) ก็เป็นอาการเตือนว่าได้ออกกำลังกายมากเกินไป ควรหยุดพัก
และออกกำลังกาย ในวันต่อๆไปด้วยความรุนแรงที่ลดลง

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ นอกจากจะพิจารณาปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว
ควร เลือกชนิดให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อม ตลอดจนอุปนิสัย
ของผู้สูงอายุด้วย รวมทั้งความเป็นไปได้ที่ผู้สูงอายุจะสามารถปฏิบัติได้อย่าง
สม่ำเสมอ


ตารางที่ 1 ภาวะที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
ภาวะที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
1. อาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่ยังควบคุมอาการไม่ได้
2. systolic BP ขณะพัก > 200 mmHg
3. diastolic BP ขณะพัก > 100 mmHg
4. มีความดันโลหิตสูงขณะออกกำลังกาย- systolic BP > 250 mmHg
- diasstoli BP > 120 mmHg
5. ลิ้นหัวใจตีบ ปานกลางถึงรุนแรง
6. การเต้นของหัวใจจังหวะไม่สม่ำเสมอ
7. การเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (> 100 ครั้ง/นาที) ระยะที่ยังควบคุม
ไม่ได้
8. ภาวะหัวใจวาย
9. การติดเชื้อหรืออักเสบของเยื่อบุ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ
10. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในระยะแรก
11. ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ
12. ภาวะไข้ โรคข้อหรือภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ ระยะเฉียบพลัน
13. ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจบางอย่าง
14. อาการเวียนศรีษะ
15. ได้รับยาบางชนิด
16. สภาวะแวดล้อม และภูมิอากาศไม่เหมาะสม
17. หลังรับประทานอาหารมื้อหลัก



ตารางที่ 2 อาการ
อาการแสดงขณะออกกำลังกายที่บ่งถึงการออกกำลังกายที่มากเกินไป
- เจ็บ หรือ แน่นหน้าอก
- มึนงง เวียนศรีษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดน่อง
- หน้าซีด หรือแดงคล้ำ
- หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว เกิน 10 นาที หลังหยุดพัก
- ชีพจรเต้นช้าลง
- ปวดข้อ
- น้ำหนักขึ้นชัดเจน

อาหารบำรุงผม




กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เส้นผมไม่เพียงช่วยให้เรามีรูปลักษณ์ที่ดี แต่คุณสมบัติที่สำคัญคือช่วยป้องกันหนังศีรษะของคนเราพ้นจากอันตรายจากแสงแดด ปัจจุบันเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าแสงแดดนั้นเป็นอันตรายต่อผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น และเกิดโรคมะเร็งของผิวหนังได้ง่าย แต่คุณทราบหรือไม่ว่าอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันมีผลสะท้อนต่อผมได้เช่นเดียวกับผิวหนังเหมือนกัน

เพราะผมมีสารประกอบของสารอาหารบางอย่าง จึงขึ้นอยู่กับตัวเราว่าจะให้สารอาหารแก่ผมอย่างไร

เส้นผมได้รับอาหารจากเลือดไปบำรุง ถ้าเลือดนั้นมีสารอาหารที่สำคัญสำหรับเส้นผม ผมก็จะเจริญงอกงาม รากผมก็จะยึดศีรษะแน่น จะร่วงก็ต่อเมื่อถึงคราวต้องร่วง และสามารงอกได้ทันกัน นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนักโภชนาการได้เคยทำการทดลองค้นคว้าเรื่อง อาหารบำรุงผม โดยได้ทำการทดลองกับสัตว์เลี้ยงสองกลุ่มคือ กลุ่มหนึ่งให้กินอาหารที่มีแร่ธาตุไอโอดีนคืออาหารทะเล ผักและผลไม้ ส่วนกลุ่มที่สองให้กินอาหารที่มีแต่แป้งและเนื้อสัตว์ ซึ่งจะได้คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเท่านั้น ปรากฏว่าสัตว์ทดลองกลุ่มที่หนึ่งมีขนดกดำสวยเป็นเงา ส่วนกลุ่มที่สองร่างกายอ้วนแข็งแรง แต่ขนสั้น ทั้ง ๆ ที่มีพ่อแม่เดียวกัน

อาหารที่มีสารไอโอดีนมากและหาง่ายในบ้านเราได้แก่ อาหารทะเลต่าง ๆ เช่น ปลา กุ้ง และอาหารที่ปรุงด้วยเกลือเสริมไอโอดีน

อาหารที่มีธาตุซิลิคอนคือ ข้าวที่ไม่ได้ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวแดง รองลงมาได้แก่ แตงกวา สตรอเบอรี่ หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี ผักกาดหอม ผักโขม

ส่วนอาหารที่มีธาตุกำมะถันได้แก่ กะหล่ำปลี หัวผักกาดขาว หัวหอมใหญ่ หัวหอมแดง กะหล่ำดอก ผักกาดแดง แอปเปิ้ล ผักเหล่านี้หาได้ไม่ยาก และสามารถกินได้ทั้งสดและหุงต้ม

ส่วนสาเหตุของผมร่วงนั้นมีหลายอย่าง การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามธรรมชาติของหญิงหลังคลอดบุตร หลังเป็นไข้ไทฟอยด์ การขาดอาหาร การใช้ยารักษาโรคมะเร็ง เชื้อรา เชื้อซิฟิลิส หรือเกิดจากความผิดปกติของเส้นผมเอง เช่น มีรอยหักกลาง และแม้แต่ความเครียดและการตกใจอย่างรุนแรง ก็อาจทำให้ผมร่วงได้ ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องผม ควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำอย่างถูกต้อง ไม่ควรหาซื้อยามาใช้เอง

การปฏิบัติตนอย่างง่าย ๆ คือ ควรใช้หวีหรือแปรงที่ไม่แหลมคม ไม่ควรแปรงผมย้อนหลัง หรือยีผมแรง ๆ อย่ารัดผมหรือถักเปียจนแน่นเกินไป ควรใช้แชมพูอ่อน ๆ และบำรุงด้วยครีมนวดผม หรือปรับสภาพเส้นผม หากต้องการใช้สารเคมี เช่น ยาย้อมผม ยากัดสีผม ก็ควรใช้เมื่อจำเป็นและไม่ควรใช้บ่อยนัก

เส้นผมจะดูสวยเป็นเงางามได้ก็ต่อเมื่อได้รับการดูแลบำรุงรักษาทุกวัน รวมไปถึงการกินอาหารที่ดี ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และพยายามทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริง เพื่อช่วยลดความเครียด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ku.ac.th/e-magazine/december44/know/hair.html