รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โรคภัย การป้องกัน รักษา เกร็ดความรู้เพื่อสุขภาพและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพต่างๆ ที่คุณควรรู้และอยากรู้
ค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพอื่นๆ
ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆให้ได้นะคะ
อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด
Wednesday, May 20, 2009
โรคพยาธิตืดหมู Taenia solium Infection
พยาธิตัวตืดเป็นพยาธิตัวแบนในกลุ่มของ Cestoidea มีลักษณะแบนเป็นปล้องๆต่อกันยาวคล้ายเส้นบะหมี่ทั้งเส้นเล็ก ใหญ่ ยาว สั้น และเนื่องจากพยาธินี้มีลักษณะแบนยาวคล้ายเทป จึงมีชื่อเรียกกันทั่วๆไปว่า "Tapeworms" พยาธิตัวตืดที่เป็นปรสิตในคนมีอยู่หลายชนิด ที่พบได้ค่อนข้างบ่อยมีดังต่อไปนี้
Taenia solium พยาธิตืดหมู ( ทีเนีย โซเลียม )
Taenia saginata พยาธิตืดวัว ( ทีเนีย ซาจินาตา )
ที่พบได้บางแต่ไม่บ่อยเช่น Hymenolepis nana, Hymenolepis deminuta เป็นต้น
พยาธิตืดหมู เป็นโรคพยาธิที่เกิดจากพยาธิตืดหมู ทั้งนี้เพราะหมูเป็นโฮสท์กลางตัวสำคัญที่มีระยะ
ติดต่ออันตรายของพยาธินี้ พยาธิตืดหมูทำให้เกิดโรคในคนได้ 2 อย่างคือ
- การที่มีพยาธิตัวแก่เต็มวัยอยู่ในลำไส้โดยที่คนจัดเป็นโฮสท์เฉพาะ ( Definitive host )
- การที่มีพยาธิตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในกล้ามเนื้อคน และมีถุงซีสต์หุ้มล้อมรอบอยู่ เรียก ซีสติเซอร์คัส
เซลลูโลเซ (Cystucercus cellulosae) โดยที่คนถือเป็นโฮสท์กลาง ( Intermediate host ) พบได้บ่อยในคนที่นิยมกินเนื้อหมูแบบดิบๆสุกๆ ในกลุ่มพวกยิว และอิสลามที่ไม่ทานหมู จึงไม่พบคนที่เป็นโรคนี้เลยหรือพบได้น้อยมาก สำหรับในประเทศไทยเราพบพยาธิตืดหมูได้น้อยกว่าพยาธิตืดวัวมาก พบได้ในภาคอีสานมากกว่าที่อื่นๆเนื่องจากชอบทานแบบสุกๆดิบๆ เช่น ลาบเนื้อลาบหมู ยำเนื้อ พล่าเนื้อ แหนม เป็นต้น
วงจรชีวิตของพยาธิ
ตัวแก่ของพยาธิตืดหมูอาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของคนซึ่งจัดเป็นโฮสท์เฉพาะ ปล้องแก่ของตัวพยาธิจะหลุดออกปนมากับอุจจาระหรือหลุดออกมาเอง ปล้องเดียว หรือ2-3 ปล้อง ในแต่ละปล้องจะมีไข่อยู่ประมาณ 1000 ฟองต่อมาปล้องจะแตกออกปล่อยไข่กระจายปนเปื้อนอยู่ปนพื้นดินหรือติดไปตามต้นหญ้า บางครั้งปล้องอาจแตกออกก่อนในลำไส้ใหญ่ ไข่จะปนออกมากับอุจจาระ ไข่ที่มีตัวอ่อนในระยะติดต่ออยู่จะเรียกว่า Oncospore (ออนโคสปอร์)
ภาพไข่ของพยาธิ์ตัวกลม Ascaris lumbricoides (แอสคารีส ลัมบิคอยดีส์) ที่ปล่อยมาจากตัวพยาธิ์ที่โตเต็มวัย ปนออกมากับอุจจาระ
กลุ่มพยาธิ์ตัวกลม Nematode ภาพโตเต็มวัยของพยาธิ์ตัวกลม Ascaris lumbricoides (แอสคารีส ลัมบิคอยดีส์) ที่อาศัยพบได้บริเวณลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ บางครั้งพบได้ที่ม้าม/ ตับอ่อน ขนาดตัวโตเต็มวัย ยาว 25-35 ซ.ม. ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย
เมื่อหมูซึ่งเป็นโฮสท์กลาง กินเอาปล้องของพยาธิตัวตืด หรือไข่พยาธิระยะ Oncospore เข้าไปตัวอ่อน
จะไชออกจากไข่แล้วไชทุลุผนังลำไส้เข้าสู่วงจรเลือดหรือน้ำเหลืองไปยังกล้ามเนื้อทั่วร่างกายของหมู
ฝังตัวอยู่โดยมีถุงหุ้มล้อมรอบตัวอยู่เรียกว่า cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส )ซึ่งถือเป็นระยะติดต่ออันตราย
ระยะเวลาทั้งหมดกินเวลาประมาณ 60 - 70 วัน เนื้อหมูที่มี cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส ) อยู่ เรียกว่าหมูสาคู เพราะจะดูคล้ายๆเม็ดสาคูอยู่ในเนื้อหมูนั้น เมื่อคนกินเนื้อหมูสาคูที่มีระยะติดต่ออันตรายแบบดิบๆสุกๆเข้าไป เมื้อเนื้อหมูถูกย่อยก็จะปล่อย cycticercus ออกมา พอเคลื่อนตัวมาถึงลำไส้เล็กส่วนหัวเรียกว่า Scolex (สโคเล็กซ์ ) จะยื่นโผล่ออกมา แล้วใช้ส่วนที่เป็น ขอ (hook) และส่วนดูดติด ( sucker) มาเกาะติดกับผนังลำไส้ ดูดเลือดและอาหารและจะค่อยๆงอกปล้องออกมาเรื่อยๆ เจริญต่อไปเป็นตัวแก่ต่อไป ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2 - 3 เดือน ปล้องแก่เมื่อมีไข่เต็มก็จะหลุดออกปนไปกับอุจจาระเพื่อไปติดต่อ ต่อไป
อาการและลักษณะพยาธิสภาพ
โดยทั่วไปมักไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงแต่อย่างใด แต่จะเป็นโรคที่เกิดจากการถูกแย่งอาหาร และ
การระคายเคืองจากสารพิษของพยาธิเอง ที่พบได้บ่อยเช่นผอมลง น้ำหนักลด ขาดอาหารทั้งที่ทาน
ได้เป็นปกติ หิวบ่อย ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระบ่อย กระสับกระสาย นอนไม่หลับ
อาการแพ้ คัน ลมพิษ
การตรวจวินิจฉัยโรค
1. ตรวจพบไข่พยาธิ ตัวตืดในอุจจาระ พยาธิตืดหมูและตืดวัวมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ต่างกันที่
ขนาด การตรวจจากปล้องจะแน่นอนกว่า
2. การตรวจจากปล้องที่หลุดปนออกมากับอุจจาระ โดยที่ปล้องของตืดหมูจะมีแขนงภายในปล้องน้อย
กว่าตืดวัว
การรักษา1. Niclosamide ( Yomesan ) มีฤิทธ์ฆ่าเชื้อพยาธิตัวตืดหมู เป็นยาเม็ดขนาด 0.5 กรัม ทาน 4 เม็ด เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน รอประมาณ 2 ชั่วโมง อาจทานยาถ่ายตามเช่น ดีเกลืออิ่นตัว 30 ซี.ซี. เมื่อให้ยาถ่ายจะพบว่าตัวพยาธิจะถูกขับออกมา แต่ถ้าไม่ให้ยาถ่ายพยาธิที่ตายจะค่อยๆถูกย่อย สลายปนออกมากับอุจจาระไป ข้อควรระวังการให้ยาถ่ายคือควรให้ยากันอาเจียนก่อนให้ยาถ่าย และ ควรให้ยาถ่ายเพื่อกำจัดปล้องออกมา เพราะถ้าตัวแก่ตายอยู่ภายในร่างกาย ปล้องที่ถูกย่อย กอรปกับ การมีอาการท้องผูก ท้องอืด หรือคลื่นไส้อาเจียน จะทำให้ไข่พยาธิที่แตกออกมาจากปล้องถูกย่อยและ ขย้อยกลับมาที่บริเวณลำไส้เล็กไข่พยาธิตัวอ่อนระยะ Oncospore (ออนโคสปอร์) ก็จะออกมาพร้อม กับไชทะลุลำไส้กระจายไปฝังตัวตามเนื้อเยื่อส่วนต่างๆทั่วร่างกายกลายเป็นระยะ cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส ) ขึ้นมาได้ 2. Mebendazole (Fugacar) เป็นยาเม็ดขนาด 100 มิลลิกรัม ทานครั้งละ 2 เม็ด ให้กินเช้าเย็น ติดต่อกันนาน 4 วัน ให้ผลในการรักษาถึงร้อยละ 90
การป้องกัน
1. เนื้อหมูที่นำมารับประทานต้องไม่เป็นเนื้อที่มีตัวอ่อนพยาธิฝังตัวอยู่ เรียกเนื้อสาคู
2. รับประทานเนื้อหมูที่ทำให้สุกแล้วเท่านั้น ไม่ทานเนื้อที่กึ่งสุกๆดิบๆ เช่น ยำ พล่า แหนม
3. กำจัดอุจจาระให้เป็นที่เป็นทางถูกหลักสุขอนามัย
4. ให้ยาถ่ายพยาธิแก่คนที่เป็นโรคนี้
อาการซีสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ (Cysticercus cellulosae) เป็นช่วงวงจรที่แปลกไปจากวงจรปกติ คือคนเกิดไปทานเอาไข่พยาธิตัวตืดในระยะ Oncospore (ออนโคสปอร์) ที่ติดอยู่ตามพืชผัก ผลไม้หรือการอาเจียน ขย้อนเอาปล้องแก่พยาธิตัวตืด (สำหรับคนที่เป็นพยาธิอยู่แล้ว) กลับเข้ามาอยู่ในกระเพาะอาหาร คนก็จะกลายเป็นโฮสท์ตัวกลางในรูปแบบนี้แทนที่หมู โดยเมื่อ ไข่พยาธิถูกย่อยตัวอ่อนก็จะฟักออกจากไข่ และไชทะลุลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำเหลือง ไปยังกล้ามเนื้อหรืออวัยวะต่างๆของร่างกาย แล้วฝังตัวมีซิสท์มาหุ้มรอบตัวพยาธิกลายเป็นระยะ cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ ) ในระยะแรกจะมีอาการอักเสบฉพาะที่ๆมีพยาธิฝังอยู่ นานเข้าก็จะมีหินปูนมาจับทำ cysticercus ( ซิสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ ) ในระยะแรกจะมีอาการอักเสบเฉพาะที่ๆมีพยาธิฝังอยู่นานเข้าก็จะมีหินปูนมาจับทำให้มีลักษณะนูนสูงขึ้น ขนาดที่พบได้ประมาณ 0.5 - 3 ซ.ม.ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ดี มักเป็นการรักษาบรรเทาตามอาการ การผ่าตัดเอาออกเป็นเรื่องยากและขึ้นกับตำแหน่งที่ฝังตัวอยู่ ดังนั้นการผ่าต้ดมักเป็นเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคมากกว่าการรักษา
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment